

ความหลากหลายทางชีวภาพ
ความมุ่งมั่น ความท้าทาย และโอกาส
การดำเนินธุรกิจด้านก่อสร้างและพัฒนาโครงการสาธารณูปโภคของ ช.การช่าง อาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งสามารถกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง เช่น การขาดแคลนทรัพยากรการทำลายถิ่นที่อยู่อาศัย และการสูญพันธุ์ของสายพันธุ์
ผลกระทบเหล่านี้อาจรบกวนห่วงโซ่อุปทาน ส่งผลต่อการเพิ่มต้นทุน และส่งผลเสียต่อชื่อเสียงองค์กร นอกจากนี้ ยังอาจนำไปสู่การร้องเรียน ความขัดแย้งกับความคาดหวังของสังคม และการหยุดชะงักของการดำเนินธุรกิจ
ด้วยเหตุนี้ ช.การช่าง มุ่งมั่นที่จะจัดการความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศอย่างมีประสิทธิภาพ หลีกเลี่ยงและลดผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพจากการดำเนินธุรกิจ พร้อมทั้งแสดงเจตนารมณ์ในการสร้างผลกระทบสุทธิเชิงบวกต่อธรรมชาติ (Net Positive Impact - NPI) ชดเชยผลกระทบเชิงลบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ (Compensation for Negative Impact) โดยดำเนินการตามมาตรการป้องกันและลดผลกระทบตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด ชีวภาพ รวมถึงประเมินผลกระทบด้านความหลากหลายทางชีวภาพจากอุปกรณ์ กระบวนการ ขั้นตอนการดำเนินธุรกิจของ ช.การช่าง
การสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
เป้าหมายที่ 15:

ผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง
เป้าหมายและผลการดำเนินงาน
- เป้าหมายไม่ให้เกิดการสูญเสียสุทธิทางธรรมชาติ (No Net Loss - NNL)1/
จากปีฐาน 2563 ตามปีเป้าหมายพ.ศ. 2573-2578
- สร้างผลกระทบสุทธิเชิงบวกต่อความหลากหลายทางชีวภาพ (Net Positive Impact - NPI)1/
จากปีฐาน 2563 และการบรรลุผลกระทบสุทธิเชิงบวกอย่างยั่งยืนภายในปีพ.ศ. 2593
- สามารถดำเนินการตามข้อกำหนดด้านนิเวศวิทยาตาม EIA ในระยะก่อสร้างได้ครบถ้วน ทุกพื้นที่ปฏิบัติการที่ได้รับการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมีมาตรการลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม
ปีเป้าหมาย 100%

หมายเหตุ : 1/ การกำหนดเป้าหมาย No Net Loss (NNL) และ Net Positive Impact (NPI) สำหรับ ช.การช่าง ที่เป็นบริษัทรับเหมาก่อสร้างที่ดำเนินงานในพื้นที่ของลูกค้า (ไม่มีกรรมสิทธิ์ในพื้นที่ที่ดำเนินการก่อสร้าง) ดังนั้น การพิจารณา NNL และ NPI ของบริษัทจึงมีขอบเขต ดังนี้
- การประเมินผลกระทบและการดำเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมาย No Net Loss (NNL) และ Net Positive Impact (NPI) ครอบคลุมเฉพาะกิจกรรมการก่อสร้างที่อยู่ภายใต้การควบคุมของบริษัทโดยตรง
- สำหรับพื้นที่ก่อสร้างซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของลูกค้า การติดตามผลและการดำเนินมาตรการในระยะยาวจะขึ้นอยู่กับข้อตกลงและความร่วมมือกับเจ้าของพื้นที่
แนวทางการจัดการและแนวปฏิบัติ

ช.การช่าง ในฐานะผู้รับเหมาก่อสร้าง มีข้อจำกัดในการเลือกพื้นที่โครงการ หรือการหลีกเลี่ยงพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ หรือแหล่งที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตที่อาจมีความสำคัญ (Biodiverse Habitats) หรือ พื้นที่สำคัญเพื่อการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ (Key Biodiversity Areas: KBA)
เนื่องจากการตัดสินใจเลือกทำเลที่ตั้งเป็นบทบาทหน้าที่ของเจ้าของโครงการโดยตรง อย่างไรก็ตาม บริษัทยังคงสามารถมีส่วนร่วมในการดูแลและป้องกันผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพได้ เช่น การดำเนินการเพื่อป้องกันและลดผลกระทบต่อระบบนิเวศในพื้นที่ก่อสร้าง โดยเริ่มจากการสำรวจและประเมินพื้นที่อย่างละเอียด ศึกษาระบบนิเวศเดิม ชนิดพันธุ์พืชและสัตว์ที่อาศัยในบริเวณนั้น เพื่อวางแผนการก่อสร้างที่ส่งผลกระทบน้อยที่สุด
บริษัทให้ความสำคัญกับการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพผ่านแผนการดำเนินงานที่ครอบคลุม โดยยึดกรอบนโยบายการจัดการสิ่งแวดล้อม การก่อสร้างสีเขียว สภาพภูมิอากาศ และความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน ควบคู่กับการปฏิบัติตามมาตรฐานสากล แผนดังกล่าวมุ่งเน้นการบูรณาการการป้องกันและลดผลกระทบต่อระบบนิเวศในทุกขั้นตอนของโครงการ ตั้งแต่การวางแผน ออกแบบ ดำเนินการก่อสร้าง ไปจนถึงการติดตามผล
บริษัทปฏิบัติตามข้อกำหนดทางกฎหมายอย่างเคร่งครัด รวมถึงการจัดทำการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment หรือ EIA) เพื่อประเมินผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการก่อสร้างต่อนิเวศวิทยาทางน้ำ และนิเวศวิทยาบนบก พื้นที่ที่มีเป็นหลากหลายทางชีวภาพ จัดการความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น ตลอดจนกำหนดมาตรการป้องกันผลกระทบและฟื้นฟูพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ นอกจากนี้บริษัทมุ่งมั่นส่งเสริมการสร้างผลกระทบสุทธิเชิงบวกทางธรรมชาติ ผ่านการฟื้นฟูถิ่นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิต การอนุรักษ์พื้นที่สีเขียว และการสนับสนุนความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน สื่อสารและสร้างความตระหนักให้กับพนักงานในทุกระดับชั้นตลอดจนผู้มีส่วนได้เสียตลอดห่วงโซ่อุปทาน เพื่อเสริมสร้างคุณภาพสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศให้คงอยู่อย่างสมดุลในระยะยาว
การวางแผนป้องกันความหลากหลายทางชีวภาพ ประกอบด้วยการกำหนดขอบเขตการก่อสร้างที่ชัดเจน หลีกเลี่ยงการบุกรุกพื้นที่ธรรมชาติโดยรอบ จัดทำแนวกันชน เตรียมมาตรการฟื้นฟูระบบนิเวศหลังการก่อสร้าง รวมถึงการวางแผนการย้ายถิ่นของสิ่งมีชีวิตที่อาจได้รับผลกระทบ นอกจากนี้บริษัทนำแนวคิดการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมาประยุกต์ใช้ตลอดกระบวนการก่อสร้าง ไม่ว่าจะเป็นการควบคุมมลพิษ การจัดการของเสีย การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และการฟื้นฟูพื้นที่ให้ใกล้เคียงสภาพเดิมมากที่สุด บทบาทเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า แม้บริษัทจะไม่มีส่วนในการเลือกพื้นที่ แต่ยังคงสามารถมีส่วนสำคัญในการดูแลและปกป้องระบบนิเวศได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยความรับผิดชอบและจิตสำนึกต่อสิ่งแวดล้อม
การประเมินผลกระทบด้านความหลากหลายทางชีวภาพและมาตรการป้องกัน
ประเด็น | ผลกระทบสิ่งแวดล้อม | มาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม |
---|---|---|
คุณภาพน้ำผิวดิน และระบบนิเวศทางน้ำ |
การกองวัสดุและอุปกรณ์ก่อสร้างใกล้แหล่งน้ำอาจทำให้เศษวัสดุปนเปื้อนแหล่งน้ำ และกีดขวางการไหลของน้ำ หากมีการก่อสร้างบริเวณเหนือน้ำ อาจเกิดคราบน้ำมันและไขมันไหลลงแหล่งน้ำ ส่งผลให้ปริมาณออกซิเจนลดลง กระทบต่อสิ่งมีชีวิต เช่น แพลงก์ตอนและสัตว์หน้าดิน | จัดเก็บวัสดุอย่างเหมาะสม ขุดลอกท่อระบายน้ำเป็นประจำ ป้องกันคราบน้ำมันปนเปื้อน และตรวจวัดระบบนิเวศทางน้ำทุก 2 เดือนตลอดการก่อสร้าง |
ระบบนิเวศบนบก |
กระบวนการก่อสร้างอาจส่งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อการดำรงชีวิตของสัตว์ในพื้นที่ เช่น การปรับพื้นที่เพื่อเตรียมการก่อสร้างอาจทำให้พื้นที่ธรรมชาติลดลง และกระจายตัวของที่อยู่อาศัยสัตว์ ส่งผลให้ประชากรสัตว์และพันธุ์พืชลดลง อาจนำไปสู่การสูญพันธุ์ในอนาคต |
ดำเนินการตรวจประเมินผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพและพันธุ์พืชสัตว์ป่าเป็นประจำทุกเดือน ส่งเสริมการอยู่ร่วมกันระหว่างมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอย่างยั่งยืน พร้อมทั้งจัดทำมาตรการคุ้มครองสัตว์ป่าและพืชประจำถิ่น ป้องกันการพังทลายและกัดเซาะของดิน และควบคุมการบุกรุกพื้นที่ป่าการคุ้มครองสัตว์ป่าในพื้นที่และพืชประจำถิ่น
การป้องกันการพังทลายและการกัดเซาะของดิน การควบคุมการบุกรุกพื้นที่ป่า
|
การบรรเทาผลกระทบอย่างมีลำดับชั้น (Mitigation hierarchy)
ช.การช่าง นำแนวทางการบรรเทาผลกระทบอย่างมีลำดับชั้น (Mitigation hierarchy) มาประยุกต์ใช้ตลอดกระบวนการดำเนินงาน เพื่อให้การดำเนินธุรกิจไม่ส่งผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ และทรัพยากรธรรมชาติจนเสียความสมดุล แนวทางบรรเทาผลกระทบอย่างมีลำดับชั้น ได้แก่่ หลีกเลี่ยง (Avoid) ลดผลกระทบ (Minimize) ฟื้นฟู (Restore) และชดเชย (Restore)
การศึกษารายงานวิเคราะห์ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม
พื้นที่ดำเนินโครงการทุกโครงการทั้งโครงการใหม่ หรือโครงการขยายของบริษัทได้มีการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามข้อกำหนดของหน่วยงานกำกับดูแลที่เกี่ยวข้อง เพื่อไม่ให้เกิดความสูญเสียต่อความหลากหลายทางชีวภาพ (No Net Loss) ที่อาจเกิดขึ้นจากกิจกรรมการดำเนินงานของบริษัท ทั้งนี้ ในการจัดทำรายงาน EIA ของแต่ละโครงการจะต้องมีการประเมินพื้นที่อ่อนไหว หรือพื้นที่ที่มีความสำคัญทางความหลากหลายทางชีวภาพ หรือพื้นที่เปราะบางทางสิ่งแวดล้อม หรือมีสายพันธุ์ที่มีรายชื่อตาม Red Lists ของ The International Union for Conservation of Nature (IUCN)
นอกจากนี้ บริษัทได้ดำเนินการตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างเคร่งครัด และครบถ้วน รวมถึงมีการติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อมให้เป็นไปมาตรการติดตามและประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมในแต่ละพารามิเตอร์ที่สำคัญ เช่น คุณภาพน้ำผิวดิน เสียง ระบบนิเวศทางน้ำ และระบบนิเวศบนบก เป็นต้น โดยมีการตรวจติดตามผลอย่างน้อย ปีละ 2 ครั้ง พร้อมทั้งจัดเตรียมแนวทางป้องกันและแก้ไขที่เหมาะสมสำหรับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น เพื่อให้การดำเนินโครงการเป็นไปตามมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมและสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อระบบนิเวศในระยะยาว
นอกจากนี้บริษัทยังให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมจากเครือข่ายความร่วมมือ เช่น หน่วยงานภาครัฐ องค์กรเอกชน หน่วยงานในท้องถิ่น ชุมชน และผู้มีส่วนได้เสียต่างๆ ในการทบทวนและปรับปรุงกระบวนการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมคุณภาพสิ่งแวดล้อม โดยไม่ส่งผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ และมุ่งมั่นสนับสนุนการฟื้นฟูระบบนิเวศอย่างยั่งยืน
หน่วยงาน | ความร่วมมือ |
---|---|
![]() สำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร
![]() การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
|
ให้ความร่วมมือในการอนุบาลต้นไม้ที่ล้อมออกจากพื้นที่ก่อสร้าง โดยจัดเตรียมพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับการดูแลและฟื้นฟูต้นไม้ เพื่อให้สามารถเจริญเติบโตได้อย่างสมบูรณ์ พร้อมทั้งดำเนินการติดตามผลอย่างต่อเนื่อง |
![]() กรมศิลปากร
![]() กรมธนารักษ์
|
ดำเนินการศึกษาแนวทางการรื้อย้ายต้นไม้ในพื้นที่ก่อสร้าง โดยนำต้นไม้ไปอนุบาลในพื้นที่ที่เหมาะสม โดยเฉพาะในพื้นที่อ่อนไหวที่มีความสำคัญทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ เพื่ออนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและรักษาเอกลักษณ์ของพื้นที่นั้นอย่างยั่งยืน |