

นโยบายการกำกับดูแลกิจการ
ความมุ่งมั่น ความท้าทาย และโอกาส
ในการดำเนินธุรกิจเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน ช.การช่าง ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการทางสังคมที่ครอบคลุมในทุกมิติ โดยมุ่งมั่นที่จะสร้างคุณค่าให้กับทั้งบริษัทและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
ความพยายามของบริษัทครอบคลุมตั้งแต่การกำกับดูแลและความสอดคล้องกับกฎหมาย สิทธิมนุษยชน การบริหารทรัพยากรมนุษย์ ความสัมพันธ์กับลูกค้า การมีส่วนร่วมกับชุมชน ตลอดจนสุขภาพและความปลอดภัยในสถานที่ทำงาน การดำเนินงานที่สอดคล้องกับหลักบรรษัทภิบาลโปร่งใสและมีจริยธรรมเพิ่มความไว้วางใจจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานรัฐ ผู้ถือหุ้น นักลงทุน และนักวิเคราะห์ ช่วยลดความเสี่ยงทางกฎหมาย และเพิ่มประสิทธิภาพทางธุรกิจ ส่งผลเชิงบวกต่อความยั่งยืนและความได้เปรียบทางการแข่งขัน อย่างไรก็ตาม การไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดหรือเกิดข้อผิดพลาดในด้านนี้ อาจทำให้บริษัทเผชิญกับค่าปรับ การเสียชื่อเสียง และความสูญเสียทางการเงิน รวมถึงภาพลักษณ์ของบริษัทที่อาจกระทบต่อศักยภาพในการดำเนินธุรกิจ และการสร้างมูลค่าทางการเงินระยะยาว
การสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
เป้าหมายที่ 1:
เป้าหมายที่ 3:
เป้าหมายที่ 4:
เป้าหมายที่ 5:
เป้าหมายที่ 8:
เป้าหมายที่ 10:
เป้าหมายที่ 12:
เป้าหมายที่ 16:

ผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง
แนวทางการจัดการและแนวปฏิบัติ

ในด้านทรัพยากรมนุษย์ บริษัทเชื่อว่าการเคารพสิทธิมนุษยชนเป็นหัวใจสำคัญของจริยธรรมทางธุรกิจ การจัดการทรัพยากรมนุษย์อย่างมีกลยุทธ์และการดูแลสุขภาวะที่ดีทั้งด้านจิตใจ และสุขภาพ ความปลอดภัยในสถานที่ทำงาน ของพนักงานช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน และสร้างผลลัพธ์ที่สนับสนุนความยั่งยืนของบริษัทในระยะยาว
บริษัทจึงมุ่งเน้น การจัดการที่ดีในกระบวนการทำงาน ส่งเสริมความผูกพันในบริษัท สร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่ปลอดภัย โดยการบูรณาการมาตรฐานด้านสุขภาพและความปลอดภัยที่เข้มงวดในทุกการดำเนินงาน และจัดให้มีมาตรการป้องกันที่เหมาะสม เพื่อให้พนักงานและผู้รับเหมาสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมั่นใจ
นอกจากนั้นบริษัทยังมุ่งเน้นสร้างความไว้วางใจและความร่วมมือจากชุมชนในพื้นที่ปฏิบัติงาน เพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น เช่น การจราจรติดขัด ความปลอดภัยบนท้องถนน และมลพิษทางอากาศ การมีส่วนร่วมที่สร้างสรรค์จะช่วยให้โครงการดำเนินไปได้อย่างราบรื่น และส่งผลดีต่อความพึงพอใจของลูกค้าและภาพลักษณ์บริษัท ด้วยการบูรณาการหลักการเหล่านี้ในทุกขั้นตอนของการดำเนินงาน บริษัทมุ่งมั่นที่จะเป็นผู้นำในการสร้างความสมดุลระหว่างผลประกอบการที่ยั่งยืนและความรับผิดชอบต่อสังคม ตลอดจนตอบสนองความคาดหวังที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในทุกภาคส่วน และ ในปี 2567 ยังได้มีการทบทวนนโยบายด้านสิทธิมนุษยชนให้มีความครอบคลุมและสนองต่อการยกระดับการดำเนินการมากยิ่งขึ้น โดยให้ความสำคัญและเคารพต่อสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานของผู้มีส่วนได้เสียในบริษัทและในห่วงโซ่คุณค่า ตามหลักการชี้แนะเรื่องสิทธิมนุษยชนสำหรับธุรกิจแห่งสหประชาชาติ (United Nations Guiding Principles on Business and Human Rights)