

การกำกับดูแลและการปฏิบัติตามกฎระเบียบ
ความมุ่งมั่น ความท้าทาย และโอกาส
ช.การช่าง และคณะกรรมการบริษัท ตระหนักและให้ความสำคัญกับการกำกับดูแลกิจการที่ดี โดยได้ผนวกนโยบาย และแนวบริหารจัดการด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดีเข้ากับบทบาทและความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริษัท ตลอดจนการจัดทำนโยบายและแนวปฏิบัติอื่น ๆ
การสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
เป้าหมายที่ 12:
เป้าหมายที่ 16:

ผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง
เป้าหมายและผลการดำเนินงาน
- ข้อร้องเรียนเรื่องการละเมิดจรรยาบรรณธุรกิจและการทุจริตและคอร์รัปชั่นภายในองค์กรเป็น 0 กรณี
- ข้อร้องเรียนเรื่องการละเมิดจรรยาบรรณธุรกิจและการทุจริตและคอร์รัปชั่นภายนอกองค์กรเป็น 0 กรณี
- ไม่มีข้อร้องเรียนเรื่องการละเมิดจรรยาบรรณธุรกิจและการทุจริตและคอร์รัปชั่นที่ได้รับการแก้ไข

แนวทางการจัดการและแนวปฏิบัติ

บริษัทได้จัดทำคู่มือจรรยาบรรณและจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจและแนวทางปฏิบัติที่ดีเพื่อเป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติตนต่อบริษัท ผู้ร่วมงาน บุคคลภายนอก และสังคม ตามหลักการจริยธรรมที่ดี การกำหนดระบบการบริหารจัดการและการควบคุมภายในที่ดี
การมีกลไกการควบคุม และการถ่วงดุลอำนาจเพื่อให้การบริหารงานเป็นไปอย่างโปร่งใสและตรวจสอบได้ การรักษาความน่าเชื่อถือทางการเงินและการเปิดเผยข้อมูล การบริหารกิจการที่คำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม และการเคารพในสิทธิและความเท่าเทียมกันของผู้ถือหุ้น รวมทั้งมาตรฐานการดำเนินงานตามข้อปฏิบัติของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และเพื่อเป็น การสื่อสารและส่งเสริมให้มีการปฏิบัติตามจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจของ ช.การช่าง ทางฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ได้จัดทำจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจของบริษัทไว้เป็นลายลักษณ์อักษรตามที่ได้กล่าวไว้ตอนต้น เพื่อมอบให้กับพนักงานที่ปฏิบัติงานและได้จัดให้มีการฝึกอบรมเกี่ยวกับการปฏิบัติตามจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจของบริษัทตลอดมาทุกคน
โครงสร้างการกำกับดูแลกิจการของบริษัท
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2567
ข้อมูลเกี่ยวกับคณะกรรมการ
จำนวนคณะกรรมการบริษัทและความเป็นอิสระ
องค์ประกอบของคณะกรรมการบริษัท
องค์ประกอบของคณะกรรมการบริษัทนั้นจะต้องประกอบด้วยบุคคลผู้ทรงคุณวุฒิ มีภาวะเป็นผูนำ มีวิสัยทัศน์ มีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ในด้านต่างๆ ประกอบกับมีทักษะที่จำเป็นตามที่บริษัทต้องการอย่างครบถ้วนและเหมาะสม มีความซื่อสัตย์สุจริต พร้อมทั้งมีความอิสระในการตัดสินใจเพื่อประโยชน์สูงสุดของบริษัทและผู้ถือหุ้น โดยโครงสร้างคณะกรรมการของบริษัทชุดปัจจุบันประกอบด้วยบุคคลผู้ทรงคุณวุฒิ มีคุณสมบัติ ทักษะ ความรู้ และมีประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์กับบริษัท สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งมีจำนวน 11 คน ประกอบด้วย กรรมการที่เป็นผู้บริหาร 6 คน กรรมการที่เป็นอิสระ 5 คน ซึ่งสอดคล้องกับสัดส่วนที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์กำหนด คือ มีกรรมการอิสระอย่างน้อย 1 ใน 3 ของจำนวนกรรมการทั้งคณะและมีจำนวนไม่น้อยกว่า 3 คน และมีคณะกรรมการตรวจสอบ ที่มีความเป็นอิสระ โดยมีหน้าที่ในลักษณะเดียวกับที่กำหนดไว้ในข้อบังคับของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มีความรู้และประสบการณ์ที่จะสอบทานความน่าเชื่อถือของ งบการเงินอย่างน้อย 1 คน เพื่อให้มีการถ่วงดุลและแสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระ สำหรับประธานกรรมการบริษัทนั้นเป็น กรรมการอิสระตามความหมายของตลาดหลักทรัพย์ฯ และไม่มีความสัมพันธ์ใด ๆ กับฝ่ายบริหาร และไม่เป็นบุคคลเดียวกันกับกรรมการผู้จัดการใหญ่
คณะกรรมการบริษัทมีการกำหนดนโยบายจำกัดจำนวนบริษัทจดทะเบียนที่กรรมการบริษัทแต่ละคนจะดำรงตำแหน่งกรรมการได้ไม่เกิน 5 แห่ง โดยไม่มีข้อยกเว้น เนื่องจากพิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นจำนวนที่กรรมการบริษัททุกคนสามารถอุทิศเวลาเข้าประชุมได้อย่างสม่ำเสมอ แต่ทั้งนี้คณะกรรมการบริษัทไม่มีนโยบายจำกัดจำนวนวาระการดำรงตำแหน่งของกรรมการบริษัทแต่ละท่าน เนื่องจากกรรมการมีความเข้าใจธุรกิจของบริษัทเป็นอย่างดี และให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์ทั้งต่อบริษัทและต่อผู้ถือหุ้น นอกจากนี้คณะกรรมการบริษัทยังได้แต่งตั้งเลขานุการบริษัทตามแนวทางปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีเพื่อทำหน้าที่ให้คำแนะนำด้านกฎหมายและกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่คณะกรรมการบริษัทต้องทราบ และปฏิบัติหน้าที่ในการดูแลกิจกรรมของคณะกรรมการบริษัท รวมทั้งประสานงานให้มีการปฏิบัติตามมติของที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทด้วย
อย่างไรก็ตาม ในการสรรหากรรมการบริษัท กรรมการผู้จัดการใหญ่ และผู้บริหารระดับสูงของบริษัทนั้น บริษัทได้ให้ความสำคัญและดำเนินการสรรหาบุคคลที่มีประสบการณ์ มีคุณสมบัติ และมีทักษะที่จำเป็นต่อการบริหารจัดการธุรกิจภายใต้นโยบายความหลากหลาย ซึ่งกำหนดให้โครงสร้างของคณะกรรมการบริษัทจะต้องมีความหลากหลายในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ในด้านทักษะวิชาชีพ ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน และเพศ เป็นต้น โดยในปัจจุบันบริษัทได้ดำเนินการวิเคราะห์ทักษะที่จำเป็นซึ่งบริษัทต้องการ เพื่อการสรรหากรรมการบริษัท กรรมการผู้จัดการใหญ่ และผู้บริหารระดับสูงของบริษัท พร้อมทั้งได้ดำเนินการวิเคราะห์ทักษะ ความเชี่ยวชาญ และความจำเป็นต่างๆ ที่มีอยู่ทั้งหมด ผลปรากฏว่า คณะกรรมการบริษัท กรรมการผู้จัดการใหญ่ และผู้บริหารระดับสูงของบริษัทนั้น มีประสบการณ์ มีคุณสมบัติ มีทักษะและความเชี่ยวชาญที่จำเป็นตามที่บริษัทต้องการครบถ้วนแล้ว สำหรับรายละเอียดของทักษะและความเชี่ยวชาญของคณะกรรมการบริษัทชุดปัจจุบัน สรุปได้ดังนี้
Board Skill Matrix
ตำแหน่ง/คุณสมบัติ | ด้านวิศวกรรม | ด้านเทคโนโลยี | ด้านภาคอุตสาหกรรม | ด้านการตลาดต่างประเทศ | ด้านนโยบายและความยั่งยืน | ด้านกลยุทธ์ | ด้านบริหารจัดการ | ด้านธรรมาภิบาล | ด้านบริหารความเสี่ยง | ด้านบัญชี/การเงิน | ด้านกฎหมาย | ด้านการตรวจสอบ |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1. กรรมการอิสระและประธานกรรมการ | ||||||||||||
2. กรรมการและประธานกรรมการบริหาร | ||||||||||||
3. กรรมการอิสระ | ||||||||||||
4. กรรมการอิสระ | ||||||||||||
5. กรรมการอิสระ | ||||||||||||
6. กรรมการ | ||||||||||||
7. กรรมการ | ||||||||||||
8. กรรมการ | ||||||||||||
9. กรรมการ | ||||||||||||
10. กรรมการ | ||||||||||||
11. กรรมการผู้จัดการใหญ่ |
การสรรหากรรมการบริษัทและผู้นำบริษัท
ในการสรรหากรรมการบริษัท กรรมการผู้จัดการใหญ่ และผู้บริหารระดับสูงของบริษัทนั้น บริษัทได้ให้ความสำคัญ และดำเนินการสรรหาบุคคลที่มีประสบการณ์ มีคุณสมบัติ และมีทักษะที่จำเป็นต่อการบริหารจัดการธุรกิจ ภายใต้นโยบายซึ่งกำหนดให้โครงสร้างของคณะกรรมการบริษัทจะต้องมีความหลากหลายในด้านต่างๆ ทั้งทักษะวิชาชีพความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน และมีการสนับสนุนด้านความหลากหลายทางเพศของคณะกรรมการ เป็นต้น โดยในปัจจุบันบริษัทได้ดำเนินการวิเคราะห์ทักษะที่จำเป็นซึ่งบริษัทต้องการเพื่อการสรรหากรรมการบริษัท กรรมการผู้จัดการใหญ่ และผู้บริหารระดับสูงของบริษัทพร้อมทั้งได้ดำเนินการวิเคราะห์ทักษะ ความเชี่ยวชาญ และความจำเป็นต่างๆ ผลปรากฏว่าคณะกรรมการบริษัท กรรมการผู้จัดการใหญ่ และผู้บริหารระดับสูงของบริษัทนั้น มีประสบการณ์ มีคุณสมบัติ มีทักษะและความเชี่ยวชาญที่จำเป็นตามที่บริษัทต้องการครบถ้วนแล้ว
การจัดตั้งคณะกรรมการชุดย่อย
รายชื่อ | ตำแหน่ง |
---|---|
คณะกรรมการตรวจสอบ | |
นายวิฑูร เตชะทัศนสุนทร* (กรรมการอิสระ) | ประธานกรรมการตรวจสอบ |
นายภาวิช ทองโรจน์ (กรรมการอิสระ) | กรรมการตรวจสอบ |
นายภัทรุตม์ ทรรทรานนท์ (กรรมการอิสระ) | กรรมการตรวจสอบ |
คณะกรรมการบริหาร | |
นายปลิว ตรีวิศวเวทย์ | ประธานกรรมการบริหาร |
นางสาวสุภามาส ตรีวิศวเวทย์ | รองประธานกรรมการบริหาร |
นายพงษ์สฤษดิ์ ตันติสุวณิชย์กุล | รองประธานกรรมการบริหาร |
นายณรงค์ แสงสุริยะ | กรรมการบริหาร |
นายอนุกูล ตันติมาสน์ | กรรมการบริหาร |
นายณัฐวุฒิ ตรีวิศวเวทย์ | กรรมการบริหาร |
คณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน | |
นายดอน ปรมัตถ์วินัย (กรรมการอิสระ) | ประธานกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน |
นายวิฑูร เตชะทัศนสุนทร (กรรมการอิสระ) | กรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน |
นายปลิว ตรีวิศวเวทย์ | กรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน |
นายณรงค์ แสงสุริยะ | กรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน |
คณะกรรมการบรรษัทภิบาลและบริหารความเสี่ยง | |
นายภัทรุตม์ ทรรทรานนท์ (กรรมการอิสระ) | ประธานกรรมการบรรษัทภิบาลและบริหารความเสี่ยง |
นายวิฑูร เตชะทัศนสุนทร (กรรมการอิสระ) | กรรมการบรรษัทภิบาลและบริหารความเสี่ยง |
นายปลิว ตรีวิศวเวทย์ | กรรมการบรรษัทภิบาลและบริหารความเสี่ยง |
นายณรงค์ แสงสุริยะ | กรรมการบรรษัทภิบาลและบริหารความเสี่ยง |
นางสาวสุภามาส ตรีวิศวเวทย์ | กรรมการบรรษัทภิบาลและบริหารความเสี่ยง |
คณะกรรมการกิจการสังคมและความยั่งยืน | |
นายภาวิช ทองโรจน์ (กรรมการอิสระ) | ประธานกรรมการกิจการสังคมและความยั่งยืน |
นายดอน ปรมัตถ์วินัย (กรรมการอิสระ) | กรรมการกิจการสังคมและความยั่งยืน |
นางสาวสุภามาส ตรีวิศวเวทย์ | กรรมการกิจการสังคมและความยั่งยืน |
นายอนุกูล ตันติมาสน์ | กรรมการกิจการสังคมและความยั่งยืน |
หมายเหตุ: *เป็นกรรมการตรวจสอบที่มีความรู้และประสบการณ์ในการสอบทานงบการเงินของบริษัท
การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการบริษัท
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2567 คณะกรรมการบริษัท ประกอบด้วยกรรมการบริษัท จำนวน 11 ท่าน บริษัทจัดให้มีการประชุมคณะกรรมการบริษัท จำนวน 7 ครั้ง เป็นการจัดประชุมแบบระบบไฮบริด (Hybrid Meeting) กรรมการทุกคนมีสัดส่วนการเข้าร่วมประชุม 100 เปอร์เซ็นต์ ของการประชุมทั้งปี โดยมีข้อมูลกรรมการและการเข้าร่วมประชุม ดังนี้
รายชื่อกรรมการบริษัท | ตำแหน่ง | ประเภทกรรมการ | การเข้าร่วมประชุม | |
---|---|---|---|---|
มาด้วยตนเอง | ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ | |||
1. นายอัศวิน คงสิริ |
|
กรรมการอิสระ | 7 | - |
2. นายปลิว ตรีวิศวเวทย์ |
|
กรรมการที่เป็นผู้บริหาร | 7 | - |
3. นายวิฑูร เตชะทัศนสุนทร |
|
กรรมการอิสระ | 7 | - |
4. นายดอน ปรมัตถ์วินัย |
|
กรรมการอิสระ | 5 (เริ่มประชุมครั้งแรก 3/2567-7/2567) | - |
5. นายภาวิช ทองโรจน์ |
|
กรรมการอิสระ | 6 | 1 |
6. นายภัทรุตม์ ทรรทรานนท์ |
|
กรรมการอิสระ | 7 | - |
7. นางสาวสุภามาส ตรีวิศวเวทย์ |
|
กรรมการที่เป็นผู้บริหาร | 7 | - |
8. นายณรงค์ แสงสุริยะ |
|
กรรมการที่เป็นผู้บริหาร | 7 | - |
9. นายพงษ์สฤษดิ์ ตันติสุวณิชย์กุล |
|
กรรมการที่เป็นผู้บริหาร | 7 | - |
10. นายอนุกูล ตันติมาสน์ |
|
กรรมการที่เป็นผู้บริหาร | 7 | - |
11. นายณัฐวุฒิ ตรีวิศวเวทย์ |
|
กรรมการที่เป็นผู้บริหาร | 7 | - |
การประเมินผลการปฏิบัติงานประจำปีของผู้นำบริษัทและคณะกรรมการ
กรรมการอิสระ ได้มีการประเมินผลการปฏิบัติงานของกรรมการผู้จัดการใหญ่ทุกปีและเป็นผู้พิจารณาเสนอค่าตอบแทนและผลประโยชน์อื่นที่เหมาะสมสาหรับกรรมการผู้จัดการใหญ่ โดยอ้างอิงจากผลประเมินการปฏิบัติงานประจำปีดังกล่าวและนำเสนอคณะกรรมการบริษัท พิจารณาเห็นชอบ โดยแบ่งเป็น 3 หมวด ได้แก่
-
ความคืบหน้าของแผนงานและเป้าหมายเชิงธุรกิจ
เช่น รายได้ ยอดขายของบริษัท EBITDA กำไรสุทธิ Economic Value Added (EVA) และด้านการพัฒนาบุคลากรและเทคโนโลยี เป็นต้น
-
การวัดผลการปฏิบัติงาน
ได้แก่ ความเป็นผู้นำ การกำหนดกลยุทธ์ การวางแผนและผลปฏิบัติทางการเงิน ความสัมพันธ์กับคณธกรรมการ ความสัมพันธ์กับภายนอก การบริหารงานและความสัมพันธ์กับบุคลากร การสืบทอดตำแหน่ง ความรู้ด้านผลิตภัณฑ์และบริหาร และคุณลักษณะส่วนตัว
-
การวัดผลความเป็นผู้นำบริษัท
พิจารณาจากจุดแข็งที่กรรมการผู้จัดการใหญ่ควรรักษาไว้ต่อไป เช่น เป็นบุคคลที่มีวิสัยทัศน์ มีความรู้ความสามารถ และประสบการณ์ในด้านต่างๆ ประกอบกับ มีทักษะที่จำเป็นตามที่บริษัทต้องการอย่างครบถ้วน มีความมุ่งมั่นในการพัฒนาตนเอง มีการตัดสินใจในภาวะวิกฤติที่ดี ให้ความสำคัญและส่งเสริมการพัฒนาบุคลากร นวัตกรรม รวมทั้งสามารถสร้างขวัญและกำลังใจให้กับพนักงานได้ทุกระดับชั้น ส่งเสริมให้การดำเนินงานของบริษัทคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม สังคม ธรรมาภิบาล (ESG) และ การมุ่งสู่ความยั่งยืนที่เป็นรูปธรรม
ด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental) |
ความรู้ด้านผลิตภัณฑ์และบริการ
การกำหนดกลยุทธ์
ความสัมพันธ์กับภายนอก
|
---|---|
ด้านสังคม (Social) |
ความสัมพันธ์กับภายนอก
การบริหารงานและความสัมพันธ์กับบุคลากร
คุณลักษณะ
|
ด้านบรรษัทภิบาล (Governance) |
ความเป็นผู้นำ
การกำหนดกลยุทธ์
การบริหารความเสี่ยงขององค์กร
ความสัมพันธ์กับคณะกรรมการ
การสืบทอดตำแหน่ง
คุณลักษณะ
|
โดยสำหรับปี 2567 นี้ มีผลการประเมินการปฏิบัติงานอยู่ที่ 98.06 ซึ่งมีการพิจารณาทุกตัวชี้วัดที่กล่าวข้างต้น รวมไปถึงผลการจัดการในด้านสิ่งแวดล้อม และความยั่งยืน
ในส่วนของการประเมินผลการปฏิบัติงานประจำปีของคณะกรรมการบริษัท มีรายละเอียดตัวชี้วัดและผลการประเมิน ดังนี้
ตัวชี้วัด | คณะกรรมการบริษัททั้งคณะ | คณะกรรมการบริษัทรายบุคคล | คณะกรรมการชุดย่อย |
---|---|---|---|
|
|
|
|
ผลการประเมิน | 98.56 | 97.24 | (รายละเอียดดังตารางด้านล่าง) |
ระดับของผลการประเมิน | ดีเยี่ยม | ดีเยี่ยม | (รายละเอียดดังตารางด้านล่าง) |
การประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการชุดย่อย | คะแนนเฉลี่ย (ร้อยละ) | ระดับของผลการประเมิน |
---|---|---|
คณะกรรมการบริหาร | 99.50 | ดีเยี่ยม |
คณะกรรมการตรวจสอบ | 99.77 | ดีเยี่ยม |
คณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน | 98.90 | ดีเยี่ยม |
คณะกรรมการบรรษัทภิบาลและบริหารความเสี่ยง | 100.00 | ดีเยี่ยม |
คณะกรรมการกิจการสังคมและความยั่งยืน | 99.43 | ดีเยี่ยม |
แผนการสืบทอดตำแหน่งและการกำหนดทักษะของผู้นำ
บริษัทได้จัดทำ Succession Plan สำหรับตำแหน่งบริหารระดับสูงและตำแหน่งสำคัญในสายงานหลัก เพื่อให้มั่นใจว่าผู้นำรุ่นต่อไปมีคุณสมบัติสอดคล้องกับทิศทางและความต้องการของบริษัทอย่างแท้จริง โดยพิจารณาจากผลการปฏิบัติงาน ศักยภาพ และความพร้อมของบุคคล ทั้งนี้ บริษัทได้จัดทำ Board Skill Matrix และ Leadership Competency Framework เพื่อกำหนดทักษะ ความรู้ และประสบการณ์ที่จำเป็นสำหรับผู้นำองค์กร เช่น ความเชี่ยวชาญด้านกลยุทธ์ ความสามารถในการขับเคลื่อนนวัตกรรม การบริหารจัดการความเสี่ยง และความเข้าใจด้านความยั่งยืน (ESG)
กรอบการวัดสมรรถนะของผู้นำ (Leadership Competency Framework)
- ความสามารถในการคิดเชิงกลยุทธ์และการตัดสินใจ
- ภาวะผู้นำด้านการเปลี่ยนแปลงและนวัตกรรม
- การพัฒนาและบริหารจัดการบุคลากร
- การสื่อสารและการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
- ความเข้าใจในประเด็น ESG และความยั่งยืน
- ความเข้าใจในธุรกิจและการบริหารความเสี่ยง
ค่าบริการ Audit และ Non-Audit
สำหรับค่าสอบบัญชี (Audit fee) และ ค่าบริการอื่นๆ (Non-Audit fee) ในปี 2567 บริษัทและบริษัทย่อยได้จ่ายค่าตอบแทนผู้สอบบัญชี โดยมีรายละเอียดดังนี้
-
ค่าตอบแทนจากการสอบบัญชี (Audit fee)
บริษัทและบริษัทย่อยจ่ายค่าตอบแทนการสอบบัญชีให้แก่
- สำนักงานสอบบัญชีที่ผู้สอบบัญชีสังกัด บุคคล หรือกิจการที่เกี่ยวข้องกับผู้สอบบัญชีและสำนักงานสอบบัญชีที่ ผู้สอบบัญชีสังกัด ในรอบปีบัญชี 2567 เป็นจำนวนเงินรวม 11,827,000 บาท ซึ่งเป็นผู้สอบบัญชีรายเดียวกับปีก่อน
-
ค่าบริการอื่น (Non-audit fee) -ไม่มี-
การต่อต้านการทุจริต
เนื่องจาก ช.การช่าง เป็นธุรกิจการก่อสร้างที่มีลักษณะเป็นโครงการขนาดใหญ่ มีมูลค่าการลงทุนสูง และเกี่ยวข้องกับการพัฒนาโครงการสาธารณปูโภคของประเทศ อีกทั้งยังเป็นประเด็นที่สมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากสมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ กับองค์กรต่อต้านคอร์รัปชั่น (ประเทศไทย) ได้ให้ความสำคัญและตระหนักถึงการร่วมลงนามความร่วมมือในการป้องกันและปราบปรามปัญหาการทุจริต และการเข้าร่วมโครงการแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริต (Collective Action Coalition Against Corruption : CAC) เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในการป้องกันและต่อต้านการทุจริตตามยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปราม การทุจริต และเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างองค์กรในการสนับสนุนมาตรการต่าง ๆ เพื่อป้องกันการทุจริตคอร์รัปชั่น
นอกจากนี้ สมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยฯ ได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือในการป้องกันและปราบปรามปัญหาการทุจริต กับ องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือกันในการสนับสนุน ส่งเสริม มาตรการป้องกันการทุจริต โดยมีแนวทางการดำเนินการที่จะร่วมกันสร้างเครือข่ายป้องกันและปราบปรามการทุจริต ทั้งภาครัฐ และเอกชน เพื่อเป็นแนวร่วมในการตรวจสอบ ติดตาม ดำเนินการ และปรับปรุง พัฒนาการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตที่เกี่ยวข้อง ปัจจุบันอยู่ในระหว่างขั้นตอนที่บริษัทดำเนินการเพื่อปรึกษาหารือกับสมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย และบริษัทในกลุ่มธุรกิจรับเหมาก่อสร้างเพื่อความเหมาะสมที่จะเข้าร่วมลงนามแสดงเจตนารมณ์โครงการแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริตโดยพร้อมเพรียงกันต่อไป
จรรยาบรรณธุรกิจ (Code of Conduct)
บริษัทมีการจัดทำจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจโดยมีความเชื่อมโยงกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ กลยุทธ์ เป้าหมาย และแนวปฏิบัติที่จะนำไปสู่การสร้างคุณค่าเพื่อการเติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืนให้กับองค์กรภายใต้ค่านิยม C-K-S-A-T-I ที่กำหนดไว้
ซึ่งจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจได้มีการจัดทำขึ้นตั้งแต่ปี 2546 วัตถุประสงค์เพื่อให้พนักงานมีความเข้าใจและสามารถปฏิบัติตามจรรยาบรรณได้อย่างเหมาะสม และได้มีการทบทวนเพื่อปรับปรุงให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในการดำเนินธุรกิจของบริษัทตลอดมา ทั้งนี้เพื่อเป็นการประมวลแบบแผน กำหนดขอบเขต มาตรฐานความประพฤติ และพฤติกรรมที่บุคลากรทุกคนของบริษัทพึงกระทำในการดำเนินธุรกิจและการปฏิบัติงาน รวมทั้งให้การปฏิบัติงานเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ภายใต้กรอบจริยธรรม คุณธรรม ความซื่อสัตย์ และเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย เกิดความเสมอภาคและเท่าเทียมกันอันเป็นการสร้างรากฐานของบริษัทให้เป็นองค์กรที่มีการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน พร้อมทั้งสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ถือหุ้น ผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มและสังคมด้วย ซึ่งจรรยาบรรณทางธุรกิจของ ช.การช่าง มีความครอบคลุมในประเด็น ดังนี้

- การเคารพกฎหมายและหลักสิทธิมนุษยชน (Human Rights)
- การต่อต้านทุจริตและคอร์รัปชัน (Anti-corruption)
- การป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ (Conflict of Interest)
- การปฏิบัติต่อลูกค้า และผู้บริโภค (Customers Relationship)
- การจัดซื้อ จัดหา ผลิตภัณฑ์หรือบริการ และการปฏิบัติต่อคู่ค้า (Supplier Relationship)
- การแจ้งเบาะแส (Whistleblowing)
- การรักษาความลับและการรักษาข้อมูล (Confidentiality of information)
- การต่อต้านการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม (Antitrust/Anticompetitive practices)
- การป้องกันการใช้ข้อมูลภายในเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ (Insider trading/dealing)
- การคำนึงถึงความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน (Safety, Health and Environment)
- การรับผิดชอบต่อชุมชนและสังคมโดยรวม (Community and Social Responsibility)
- การไม่ล่วงละเมิดต่อทรัพย์สินทางปัญญาหรือลิขสิทธิ์และการใช้ระบบสารสนเทศ (IT Security)
การส่งเสริมนโยบายและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการต่อต้านการทุจริตขององค์กร
บริษัทมีแนวทางในการส่งเสริมให้มีการปฏิบัติตามคู่มือการกำกับดูแลที่ดี รวมถึงมีการสื่อสารนโบบายด้านการต่อต้านการทุจริต และจรรยาบรรณธุรกิจ โดยการนำส่งแบบสำรวจการปฏิบัติตามจรรยาบรรณให้กับกรรมการบริษัท ผู้บริหาร และพนักงานทุกคน เพื่อประเมินผลการปฏิบัติตามจรรยาบรรณบริษัทอย่างต่อเนื่องทุกปี แล้วนำผลการสำรวจมาสรุปเพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการยึดถือปฏิบัติตามจรรยาบรรณอย่างจริงจัง
โดยในปี 2567 มีผู้บริหาร (ตั้งแต่ระดับผู้จัดการส่วน ถึง ประธานกรรมการบริหาร) ที่ทำการประเมินจำนวน 88 คน ส่งผลการประเมินกลับคืนให้ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์จำนวน 88 คน คิดเป็นร้อยละ 100 และผลการประเมินโดยรวมอยู่ในเกณฑ์ดีมาก สำหรับพนักงาน (ตั้งแต่ระดับผู้จัดการแผนก ถึง เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ) ที่ทำการประเมิน จำนวน 1,360 คน ส่งผลการประเมินกลับคืนให้ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์จำนวน 1,360 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ซึ่งผลการประเมินโดยรวมอยู่ในเกณฑ์ดีมากเช่นกัน
จากการที่คณะกรรมการบริษัทได้เห็นชอบและสนับสนุนให้คณะกรรมการบริษัท ผู้บริหาร และพนักงาน ของบริษัท มีการปฏิบัติตามจรรยาบรรณธุรกิจเพื่อให้เกิดเป็นวัฒนธรรมองค์กรที่ดีเนื่องจากจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจของบริษัทประกอบด้วยข้อพึงประพฤติปฏิบัติของกรรมการบริษัท ผู้บริหาร และของพนักงานที่ได้กำหนดแนวทางในการประพฤติปฏิบัติตนต่อบริษัท ผู้ร่วมงาน บุคคลภายนอก และต่อสังคม ตามหลักการทางจริยธรรมที่ดี โดยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา กรรมการบริษัท ผู้บริหาร และพนักงานทุกคนได้รับทราบและเข้าใจถึงข้อพึงประพฤติปฏิบัติตนที่เหมาะสมและถูกต้องทางจริยธรรม รวมทั้งยึดถือเป็นแนวทางในการปฏิบัติหน้าที่ตามภารกิจของบริษัทด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและเที่ยงธรรม ซึ่งบริษัทได้มีการสื่อสารและส่งเสริมให้มีการปฏิบัติตามจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจของบริษัท โดยมีคณะกรรมการบริษัทคอยติดตามนโยบายการต่อต้านการทุจริตที่ครอบคลุมประเด็นคอร์รัปชันและการติดสินบน อีกทั้งฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ได้จัดทำจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจของบริษัทเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อมอบให้กับพนักงานที่ปฏิบัติงานและจัดให้มีการฝึกอบรมเกี่ยวกับการปฏิบัติตามจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจของบริษัทตลอดมาทุกคน และในปี 2567 ได้มีการจัดอบรมขึ้นจำนวน 23 ครั้ง โดยมีพนักงานใหม่จำนวน 88 คน ที่ได้เข้ารับการอบรม
ระดับพนักงาน | จำนวนพนักงานที่ได้รับการสื่อสารนโยบาย (คน) | ร้อยละ |
---|---|---|
จำนวนพนักงานที่ได้รับการสื่อสารนโยบายและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการต่อต้านการทุจริตขององค์กร | ||
กรรมการบริษัท | 6 | 100 |
ผู้ริหารระดับสูง | 11 | 100 |
ผู้บริหาร | 75 | 100 |
หัวหน้างาน | 303 | 100 |
พนักงาน | 1,033 | 100 |
จำนวนพนักงานที่ได้รับการอบรมเกี่ยวกับนโยบายและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการต่อต้านการทุจริตขององค์กร | ||
กรรมการบริษัท | 11 | 100 |
ผู้ริหารระดับสูง | 5 | 26.32 |
ผู้บริหาร | 41 | 54.67 |
หัวหน้างาน | 50 | 16.50 |
พนักงาน | 312 | 30.20 |
ช่องทางการรับเรื่องร้องเรียนด้านการต่อต้านการทุจริต
ช.การช่าง ได้กำหนดช่องทางการแจ้งเบาะแส ข้อร้องเรียน และมาตรการคุ้มครองผู้รายงานหากพบเห็นการฝ่าฝืน หรือพบเห็นการกระทำทุจริต การติดสินบนและคอร์รัปชันตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีในเรื่องบทบาทต่อผู้มีส่วนได้เสีย โดยได้กำหนดกระบวนการพิจารณา รวมทั้งจัดให้มีมาตรการคุ้มครองและบรรเทาความเสียหาย รวมถึงการรักษาความลับให้กับผู้รายงานหรือผู้ร้องเรียน โดยครอบคลุมถึง พนักงาน ผู้รับเหมา คู่ค้า หรือหน่วยงานที่ติดต่อกับบริษัท รวมถึงบุคคลภายนอก ตามนโยบายการแจ้งเบาะแสและข้อร้องเรียนการทุจริตต่อหน้าที่ที่บริษัทกำหนดไว้ ดังนี้
การติดตามและการปฏิบัติตามจรรยาบรรณธุรกิจ
เมื่อได้รับเรื่องที่กรรมการ ผู้บริหาร พนักงาน หรือผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม แจ้งเบาะแส/ข้อร้องเรียนว่าอาจมีการกระทำ ทุจริตต่อหน้าที่กำหนดให้มีกระบวนการดำเนินการพิจารณา ดังนี้
1. ผู้รับข้อร้องเรียนรวบรวมข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับการทุจริต การฝ่าฝืน หรือการไม่ปฏิบัติตามจริยธรรม โดยดำเนินการปกป้องคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรียนตามมาตรการที่กำหนดในจรรยาบรรณธุรกิจของบริษัท
2. ผู้รับข้อร้องเรียนรายงานข้อเท็จจริงต่อกรรมการอิสระ ปฏิบัติหน้าที่สอบสวนข้อเท็จจริง เพื่อพิจารณาการร้องเรียน ให้แล้วสร็จภายใน 30 วัน โดยแยกแยะเรื่องที่เกี่ยวข้องออกเป็นประเด็น ด้านการบริหารจัดการ ด้านการพัฒนาความรู้ การตรวจสอบข้อเท็จจริง เป็นต้น
3. มาตรการดำเนินการ ผู้รับข้อร้องเรียนนำเสนอกรรมการอิสระเพื่อสอบสวนข้อเท็จจริง และกำหนดมาตรการดำเนินการเพื่อระงับการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย
4. วิเคราะห์สาเหตุของปัญหา
5. พิจารณากระบวนการลงโทษทางวินัยกับผู้ที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบิตามนโยบายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นและระเบียบข้อบังคับ ในการทำงาน ตามที่บริษัทฯ เห็นสมควรรวมทั้งพิจารณาการดำเนินการบรรเทาความเสียหายให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบ
6. การทบทวนกระบวนการเพื่อหาจุดบกพร่องในกระบวนการทำงาน และปรับปรุงไม่ให้เกิดเหตุซ้ำ
7. ตรวจสอบการปฏิบัติตามการแก้ไข
8. การรายงานผล ผู้รับข้อร้องเรียนมีหน้าที่แจ้งผลให้ผู้ร้องเรียนทราบหากผู้ร้องเรียนเปิดเผยตนเองในกรณีที่เป็นเรื่องสำคัญ ให้รายงานผลต่อประธานกรรมการ และ/หรือคณะกรรมการบริษัททราบ
บริษัท ช.การช่าง ได้มีการติดตามเพื่อให้เกิดการปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีซึ่งครอบคลุมเรื่อง
- การดูแลพนักงานและการไม่เลือกปฏิบัติ
- การต่อต้านการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม
- การดูแลสิ่งแวดล้อม สุขอนามัย และความปลอดภัยในองค์กร
- การรักษาความปลอดภัยของข้อมูลสารสนเทศ
การดำเนินการด้านภาษี
นโยบายหรือระเบียบด้านภาษี
บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) ยึดมั่นในการดำเนินธุรกิจตามหลักบรรษัทภิบาลที่ดีและจรรยาบรรณด้านภาษี มีความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ และตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบต่อสังคมและผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม
บริษัทมีนโยบายด้านภาษีเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติให้ธุรกิจมีการเติบโตทางเศรษฐกิจควบคู่ไปกับการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนในระยะยาว ช.การช่าง ยืนยันความมุ่งมั่นและตั้งใจในประเด็นเหล่านี้
- ความมุ่งมั่นในการปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการภาษีในแต่ละประเทศที่บริษัทมีการดำเนินการ
- การใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอย่างถูกต้องตามกฎหมาย รวมถึงใช้โครงสร้างภาษีในแนวทางที่ถูกต้องซึ่งไม่ก่อให้เกิดการหลีกเลี่ยงภาษี
แนวปฏิบัติหรือการวางแผนด้านภาษี
- ดำเนินการบริหารจัดการ การวางแผนด้านภาษีอากร และการเสียภาษีอากรให้เป็นไปตาม ข้อกำหนด ระเบียบปฏิบัติและกฎหมายภาษีที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่กลุ่มบริษัทและผู้มีส่วนได้เสีย
- ดำเนินการนำส่งภาษีหรือขอคืนภาษีอย่างถูกต้องเหมาะสมและภายในระยะเวลาที่กฎหมายหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกำหนด รวมถึงยึดมั่นในบทบาทหน้าที่ในการเป็นผู้เสียภาษีที่ดี โดยการปฏิบัติตามกฎหมายภาษี เพื่อสะท้อนถึงความโปร่งใสในการดำเนินงานด้านภาษี
- มีการศึกษาและพิจารณาผลกระทบทางภาษีเมื่อมีโครงการลงทุนหรือมีธุรกรรมใหม่ รวมถึงเมื่อมีกฎหมายหรือนโยบายทางภาษีอากรใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับกิจกรรม กลยุทธ์ทางธุรกิจ ความถูกต้องตามกฎหมายและครอบคลุมถึงประโยชน์ของกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียและสังคม
- ไม่มีนโยบายที่จะใช้ความแตกต่างของโครงสร้างภาษีระหว่างประเทศเพื่อการหลีกเลี่ยงภาษี หรือ ใช้โครงสร้างภาษีโดยไม่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจ
การจ่ายภาษีที่แท้จริงหรืออัตราภาษีที่จ่ายจริง
บริษัทดำเนินการเปิดเผยการจ่ายภาษีที่แท้จริง ดังนี้
2561 | 2562 | 2563 | 2564 | 2565 | 2566 | 2567 | |
---|---|---|---|---|---|---|---|
อัตราภาษีที่กำหนดไว้ (%) | 20.00 | 20.00 | 20.00 | 20.00 | 20.00 | 20.00 | 20.00 |
อัตราภาษีที่กำหนดไว้ (%) | 5.29 | 6.59 | 4.33 | 3.90 | 1.81 | 4.96 | 7.18 |
อัตราภาษีที่แท้จริง* (Effective Tax Rate) หมายถึง ร้อยละอัตราภาษีเงินได้ที่บริษัทจ่ายให้รัฐโดยคำนวณจากค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ตามงบการเงินหารด้วยกำไรจากการดำเนินงานก่อนหักภาษี
เหตุผลที่จำนวนเงินภาษีที่จ่ายจริงหรืออัตราภาษีที่จ่ายจริงต่ำกว่าจำนวนหรืออัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลตามกฎหมาย อัตราภาษีที่จ่ายจริงต่ำกว่าอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลตามกฎหมายที่กำหนดไว้ เนื่องจาก
1.รายได้จากเงินปันผลได้รับยกเว้นภาษี
2.บริษัทย่อยในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามสัญญาสัมปทาน