

การบริหารจัดการพลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ความมุ่งมั่น ความท้าทาย และโอกาส
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นความท้าทายระดับโลกที่องค์กรธุรกิจทุกแห่ง รวมถึงอุตสาหกรรมก่อสร้างต้องร่วมมือกันแก้ไข การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามเป้าหมายของข้อตกลงปารีส สามารถช่วยลดความเสี่ยงทางการเงินและตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภค
ช.การช่าง จึงให้ความสำคัญกับการจัดการปัญหานี้ผ่านการลดการใช้พลังงานและปล่อยก๊าซคาร์บอนในกระบวนการดำเนินงาน เพื่อสร้างความยั่งยืนให้ธุรกิจควบคู่ไปกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
ช.การช่าง ให้ความสำคัญอย่างมากกับการลดผลกระทบจากการดำเนินธุรกิจต่อสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศผ่านการส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมทางธุรกิจ เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบในระยะยาวต่อธุรกิจ อาทิ การเพิ่มขึ้นของต้นทุน แรงกดดันจากกฎระเบียบ และการแข่งขันในตลาด การบริหารจัดการที่ไม่มีประสิทธิภาพอาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต สุขอนามัย และเพิ่มความเสี่ยงจากภัยพิบัติ นอกจากนี้ ยังกระทบต่อเป้าหมายด้านสภาพภูมิอากาศของประเทศ การใช้พลังงานและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกช่วยให้ประหยัดต้นทุน เสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดี และตอบสนองความต้องการของผู้ลงทุน
การสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
เป้าหมายที่ 7:
เป้าหมายที่ 12:
เป้าหมายที่ 13:

ผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง
เป้าหมายและผลการดำเนินงาน
-
ลดการใช้พลังงาน ปีละ 1%
ปี 2563 (ปีฐาน) 2,995,795 kWh, เป้าหมายระยะยาวในปี 2573

แนวทางการจัดการและแนวปฏิบัติ
การจัดการพลังงาน

ช.การช่าง ตระหนักถึงความสำคัญของการอนุรักษ์พลังงานและการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากการขาดแคลนพลังงานส่งผลกระทบโดยตรงต่อธุรกิจ
เช่น ต้นทุนการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้ธุรกิจต้องเผชิญความท้าทายมากมาย จึงได้นำแนวทางการบริหารจัดการพลังงานมาใช้ รวมถึงการส่งเสริมการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และพลังงานทดแทนในองค์กร ทั้งยังสนับสนุนนโยบายภาครัฐในการอนุรักษ์พลังงาน พร้อมทั้งส่งเสริมให้พนักงานมีจิตสำนึกในการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่า เพื่อลดค่าใช้จ่ายและภาระขององค์กร ตามนโยบายการจัดการสิ่งแวดล้อมการก่อสร้างสีเขียวสภาพภูมิอากาศและความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืนของบริษัท เพื่อส่งเสริมความยั่งยืนในการดำเนินงานของบริษัท
เชื่อมโยงแผนการจัดการเข้ากับนโยบาย
หน่วยงานที่รับผิดชอบ
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ช.การช่าง มุ่งมั่นรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศตามนโยบายการจัดการสิ่งแวดล้อม การก่อสร้างสีเขียว และการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน ผ่านการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน ลดมลพิษ และจัดการความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างมีประสิทธิภาพ สนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) และตั้งเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2608
โดยปรับแผนการลงทุนและการดำเนินงานให้สอดคล้องกับเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกระยะยาวของบริษัท รวมถึงข้อตกลงปารีสที่มุ่งจำกัดภาวะโลกร้อนให้อยู่ในระดับไม่เกิน 1.5 องศาเซลเซียส ทั้งนี้ การดำเนินงานทั้งหมดจะอยู่ภายใต้กรอบด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) เพื่อสร้างผลกระทบเชิงบวกในระยะยาวมาตรฐานว่าด้วยเรื่องหลักการและข้อกำหนดระดับองค์กร สำหรับการวัดปริมาณและการรายงานผลการปล่อยและลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก ISO 14064-1 และได้รับการรับรองโดยองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ทั้งยังผสานการใช้เทคโนโลยีและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อให้ธุรกิจเติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืน พร้อมสร้างผลตอบแทนสูงสุดแก่ผู้มีส่วนได้เสียในทุกภาคส่วน ทั้งนี้เพื่อให้บรรลุเป้าหมายและเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างอนาคตที่ยั่งยืน
การกำกับดูแลด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี พ.ศ. 2608 บริษัทได้จัดตั้งคณะกรรมการกิจการสังคมและความยั่งยืน และคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง โดยมีคณะกรรมการบริษัท คณะกรรมการบริหาร และผู้บริหารร่วมรับผิดชอบภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการบริษัท (Board of Directors) ซึ่งทำหน้าที่วางกลยุทธ์และกำหนดเป้าหมาย คณะกรรมการกิจการสังคมและความยั่งยืนมีหน้าที่กำหนด ทบทวนนโยบาย ติดตามความก้าวหน้า และประเมินผลสำเร็จด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน รวมถึงการจัดการสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ขณะเดียวกัน คณะผู้บริหารติดตามโครงการด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม พร้อมเสนอแนะแนวทางการดำเนินงานและสนับสนุนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในปี 2567 มีการประชุมทุกไตรมาส รวม 4 ครั้ง (จำนวนครั้งของการประชุมผู้บริหารและพนักงานในปี 2567) และพิจารณาอนุมัติเรื่องสำคัญ ได้แก่ การจัดทำ Climate Risk Assessment
โครงสร้างการกำกับดูแลด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ช.การช่าง มีแนวทางการบริหารจัดการโครงสร้างการบริหารจัดการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทั้งนี้ บริษัทได้กำหนดให้คณะกรรมการกิจการสังคมและความยั่งยืน และ คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง ซึ่งประกอบด้วย คณะกรรมการบริษัท คณะกรรมการบริหาร และ ผู้บริหาร เป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินการ โดยแต่ละระดับมีหน้าที่และความรับผิดชอบ ดังนี้
บทบาท | หน้าที่ความรับผิดชอบ |
---|---|
กิจการสังคมและสิ่งแวดล้อม | |
คณะกรรมการบริษัท (Board of Directors) ประกอบด้วย ดร.ภาวิช ทองโรจน์ นายดอน ปรมัตถ์วินัย ดร. สุภามาส ตรีวิศวเวทย์ ดร. อนุกูล ตันติมาสน์ |
|
คณะกรรมการกิจการสังคม และความยั่งยืน (Corporate Social Responsibility andSustainability Management Committee) ประกอบด้วย ดร. สุภามาส ตรีวิศวเวทย์ |
ทั้งนี้ โดยในปี 2567 คณะกรรมการให้ความเห็นชอบในการ ดำเนินการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร (Carbon Footprint of Organization) เพื่อประเมินการลดปริมาณก๊าซ เรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากกิจกรรมต่าง ๆ ขององค์กร |
คณะผู้บริหารการบริหารจัดการ ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change Management Committee) ประกอบด้วย คุณณัฐวุฒิ ตรีวิศวเวทย์ |
|
คณะผู้บริหารโครงการกิจการสังคมและความยั่งยืน (Corporate Social Responsibility and Sustainability Committee) ประกอบด้วย คุณสมบัติ ตรีวิศวเวทย์ คุณสวรรยา ตรีวิศวเวทย |
|
บรรษัทภิบาลและความเสี่ยง | |
คณะกรรมการบริษัท (Board of Directors) ประกอบด้วย คุณภัทรุตม์ ทรรทรานนท์ คุณวิฑูร เตชะทัศนสุนทร คุณปลิว ตรีวิศวเวทย์ คุณณรงค์ แสงสุริยะ ดร. สุภามาส ตรีวิศวเวทย์ |
|
คณะกรรมการบรรษัทภิบาลและบริหารความเสี่ยง (Corporate Governance and Risk Management Committee) ประกอบด้วย คุณภัทรุตม์ ทรรทรานนท์ คุณวิฑูร เตชะทัศนสุนทร คุณปลิว ตรีวิศวเวทย์ คุณณรงค์ แสงสุริยะ ดร. สุภามาส ตรีวิศวเวทย์ |
|
คณะผู้บริหารโครงการบริหารความเสี่ยง (Risk Management Committee) ประกอบด้วย คุณพงษ์สฤษดิ์ ตันติสุวณิชย์กุล คุณสิทธิเดช ตรีวิศวเวทย์ ดร. อนุกูล ตันติมาสน์ คุณวัชระ แสงหัตถวัฒนา คุณพรณรงค์ สิริโยธิน คุณประพนธ์ จันทร์ประดับฟ้า คุณไพรัตน์ พรหมอินทร์ คุณธรรมนูญ สุรรัตน์ คุณพิชัย เฉยบำรุง คุณรินรดา ตั้งตรงคิด คุณวิบูลย์ อังคพิพัฒนชัย คุณกีรติ เหลืองชูเกียรติ คุณสมบัติ ตรีวิศวเวทย์ คุณทิพย์วารี อรรถกฤษณ์ คุณอรุณี ตรีวิศวเวทย์ คุณสวรรยา ตรีวิศวเวทย์ |
|
การตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
บริษัทมุ่งมั่นที่จะเปิดเผยการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศตามแนวทางของ Task Force on Climate-Related Financial Disclosures (TCFD) และยึดหลักความยั่งยืนในการจัดการสิ่งแวดล้อม อีกทั้ง บริษัทมุ่งลดความเข้มข้นของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากร ผ่านโครงการต่าง ๆ ที่ดำเนินการอยู่ รวมถึงการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์จากกิจกรรมขององค์กร (Carbon Footprint of Organization) เพื่อนำผลการประเมินมาวางแผนลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยในปี 2567 บริษัทได้จัดจ้างบริษัท แอดวานซ์ เอ็นเนอร์ยี่ พลัส จำกัด ในการเป็นที่ปรึกษา ซึ่งได้ทวนสอบกับบริษัท บูโร เวอริทัส (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งจะได้รับประกาศนียบัตรรับรองมาตรฐาน ISO 14064-1 :2018 และได้รับประกาศนียบัตรจากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกในเดือนในเดือนมีนาคมและพฤษภาคม 2568 ตามลำดับ
การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมต่าง ๆ ในกระบวนการดำเนินธุรกิจ
การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมต่าง ๆ ในกระบวนการดำเนินธุรกิจ | ปี 2566 | ปี 2567 |
---|---|---|
Scope 1 : การปล่อย GHG ทางตรง | 8,671.00 | 10,861.00 |
การปล่อยก๊าซไบโอเจนิคทั้งหมด (Biogenic CO2 Emission) | 395.00 | 645.00 |
Scope 2 : การปล่อย GHG ทางอ้อมที่เป็นพลังงาน | 7,784.00 | 8,729.00 |
Scope 3 : การปล่อย GHG ทางอ้อมอื่น ๆ | 219,302.00 | 227,134.00 |
รวม | 236,152.00 | 246,724.00 |
การบริหารจัดการความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ในปี 2567 นี้ ช.การช่าง ได้ดำเนินการประเมินความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ร่วมกับ (Climate Change Risk Assessment) ร่วมกับคู่ค้า เพื่อดำเนินการศึกษาและระบุความเสี่ยงด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่สามารถส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของ ช.การช่าง ได้ ไม่ว่าจะเป็นความเสี่ยงทางกายภาพหรือความเสี่ยงทางการเปลี่ยนผ่าน เช่น อุณหภูมิเฉลี่ยที่สูงขึ้นหรือปริมาณน้ำฝนที่มากขึ้นทำให้ผลผลิตของการก่อสร้างลดลง เป็นต้น ทั้งนี้ ผลลัพธ์ของดำเนินการประเมินความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศนี้จะเป็นแนวทางในการวางกลยุทธ์และแผนการดำเนินงานของ ช.การช่าง ในลำดับต่อไป เพื่อค้นหาโอกาสทางธุรกิจและมาตรการลดความเสี่ยงบริษัทในระยะสั้นและระยะยาว รวมถึงกำหนดแผนการปรับตัวบริษัทเข้ากับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Adaptation) ที่มีการร่วมมือภายในบริษัทระหว่างหน่วยงานความเสี่ยง พัฒนาธุรกิจ และความยั่งยืน และการกำกับดูแลของคณะกรรมการ เพื่อสร้างความยืดหยุ่นและความสามารถในการแข่งขันในการดำเนินธุรกิจให้แก่ ช.การช่าง ตอบสนองต่อความต้องการของผู้มีส่วนได้เสียโดยฉพาะกลุ่มนักลงทุน สนับสนุนเป้าหมายของข้อตกลงปารีส (Paris Agreement) ในการควบคุมอุณหภูมิเฉลี่ยโลกให้ไม่เพิ่มขึ้นเกิน 2 องศาเซลเซียส โดยมีดำเนินการตามเป้าหมายการมีส่วนร่วมของประเทศ (National Determined Contributions: NDCs)
ตามคำแนะนำของ TCFD ในการประเมินความเสี่ยงนั้น ช.การช่าง ได้ดำเนินการคัดเลือก 5 สถานที่ปฏิบัติการที่มีโอกาสได้รับผลกระทบสูง ครอบคลุมตลอดห่วงโซ่คุณค่า ประเมินลักษณะทางกายภาพและภูมิศาสตร์ และนำข้อมูลมาประเมินความเสี่ยงทางกายภาพผ่านโปรแกรมเฉพาะ พบว่าความเสี่ยงทางกายภาพที่มีของ ช.การช่างนั้น ยกตัวอย่างเช่น คลื่นความร้อน อุณหภูมิลดลงอย่างมีนัยสำคัญ การเกิดอุทกภัย พายุฝนฟ้าคะนอง ภัยแล้ง และไฟป่า เป็นต้น สำหรับด้านความเสี่ยงทางการเปลี่ยนผ่าน ตัวอย่างที่มีนัยสำคัญ ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงทางกฎหมายและนโยบายที่เกี่ยวข้อง การเปลี่ยนแปลงทางตลาด การเปลี่ยนแปลงทางอุปสงค์ของธุรกิจการก่อสร้าง และความเสี่ยงทางเทคโนโลยีดิจิทัล เป็นต้น การประเมินทั้งหมดด้านต้นที่กล่าวมานั้น ได้ผ่านการประเมินโดยใช้ฉากทัศน์ (Scenario) เส้นตัวแทนเศรษฐกิจและสังคมร่วม หรือ Shared Socioeconomic Pathways (SSP) ที่ให้ความสำคัญต่อการทำนายการเปลี่ยนแปลงจำนวนประชากรการเติบโตทางเศรษฐกิจ การศึกษา การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง การพัฒนาของเทคโนโลยี โดยแบ่งออกเป็น 5 ฉากทัศน์ ได้แก่
ในการประเมินฉากทัศน์นั้น ช.การช่าง ได้ดำเนินการประเมินใน 2 เหตุการณ์ คือ เหตุการณ์ในกรณีที่คาดการณ์ว่าสถานการณ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจกอยู่ในระดับสูงและสูงมาก กล่าวคือ ในปี ค.ศ. 2050 ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่า และกรณีสถานการณ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจกอยู่ในระดับต่ำมากและต่ำ กล่าวคือ ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมีแนวโน้มลดลงจนเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี ค.ศ. 2050 ช.การช่าง ได้ระบุความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่สำคัญทั้งทางกายภาพและการเปลี่ยนผ่าน ซึ่งได้รวมกับการการจัดทำการประเมินความเสี่ยงขององค์กร (Enterprise Risk Assessment) รวมถึงการวางแผนการจัดการเบื้องต้น ดังนี้
ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ | แผนการจัดการเบื้องต้น |
---|---|
ความเสี่ยงทางกายภาพ | |
ความเสี่ยงด้านการขาดแคลนน้ำ พิจารณาถึงในห่วงโซ่อุปทาน หรือ คู่ค้า ของ ช.การช่าง เนื่องจากน้ำเป็นส่วนประกอบสำคัญในการผลิตวัสดุก่อสร้าง การขาดแคลนน้ำสามารถส่งผลต่อปริมาณวัสดุก่อสร้างของ ช.การช่าง ได้ กระทบต่อการดำเนินธุรกิจการก่อสร้าง อาจเกิดเหตุการหยุดชะงัก ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของผู้มีส่วนได้เสียในการส่งมอบงาน และในกรณีที่จำเป็นต้องการคงมาตรานการผลิตวัสดุก่อสร้าง อาจจำเป็นต้องมีการเพิ่มต้นทุนเพื่อหาแหล่งน้ำทดแทน การพึ่งพาแหล่งน้ำธรรมชาติอาจมีความเสี่ยงได้ เนื่องจากเป็นแหล่งน้ำที่มีหลากหลายโครงการและองค์กรบริโภคเช่นเดียวกัน ประเภทของความเสี่ยง
|
|
ความเสี่ยงทางการเปลี่ยนผ่าน | |
การเปลี่ยนแปลงของกฎหมายและราคาคาร์บอน การเปลี่ยนแปลงของกฎหมายภายในประเทศและความร่วมมือกันในระดับสากลในการตั้งราคาภาษีคาร์บอน (Carbon Tax) ให้เป็นกลไกบังคับเพื่อลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หากหลากหลายประเทศเริ่มมีการตั้งมาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดน (Carbon Border Adjustment Mechanism: CBAM) สามารถส่งผลต่อต้นทุนการวัสดุก่อสร้างที่เพิ่มมากยิ่งขึ้น หรืออาจเกิดความล่าช้าในการขนส่งวัสดุก่อสร้าง ในกรณีที่คู่ค้าไม่สามารถปฏิบัติตามมาตรฐานหรือกฎระเบียบได้ ประเภทของความเสี่ยง
|
|
การลงทุนในสิ่งก่อสร้างพื้นฐาน การลงทุนในสิ่งก่อสร้างพื้นฐานในปัจจุบันของประเทศ นับว่าเป็นโอกาสสำหรับ ช.การช่าง เนื่องจาก โครงสร้างพื้นฐานส่วนมากยังต้องการการพัฒนาและปรับปรุง อย่างต่อเนื่อง โดยเน้นไปที่ระบบการเดินทาง เช่น ถนน ทางพิเศษ (ทางด่วน) ระบบรางสำหรับรถไฟ การเดินทางทางอากาศ ท่าเรือ เป็นต้น และนอกจากนี้ยังนับว่าเป็นโครงการที่สามารถต่อยอดไปยังด้านการลงทุนที่ยั่งยืน (Green Bond และ Green Loan) ได้เช่นเดียวกัน ประเภทของความเสี่ยง
|
|