

การปฏิบัติต่อแรงงานและการจัดการทุนมนุษย์
ความมุ่งมั่น ความท้าทาย และโอกาส
เนื่องจากธุรกิจก่อสร้างและการพัฒนาโครงการสาธารณูปโภคของบริษัทส่งผลกระทบโดยตรงต่อพนักงานในทุกระดับ ตั้งแต่พนักงานประจำ ชั่วคราว และผู้รับเหมา ทั้งในด้านสังคม สิทธิมนุษยชน และเศรษฐกิจ การบริหารและดูแลบุคลากรจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง
เช่น การพัฒนาทักษะ การจัดฝึกอบรม และโครงการสนับสนุนต่าง ๆ เพื่อให้พนักงานมีความสามารถที่สอดคล้องกับงาน มีความก้าวหน้าในอาชีพ และได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรม หากขาดการบริหารที่ดี อาจส่งผลเสียต่อประสิทธิภาพการทำงานและการลาออกของพนักงาน ในทางกลับกัน การบริหารที่ดีช่วยสร้างความได้เปรียบทางธุรกิจ โดยเพิ่มทักษะที่จำเป็น รองรับการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรม และส่งเสริมความยั่งยืนในอนาคต
การสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
เป้าหมายที่ 5:
เป้าหมายที่ 8:

ผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง
แนวทางการจัดการและแนวปฏิบัติ

ช.การช่าง บริหารจัดการทรัพยากรบุคคล โดยยึดหลักปฏิบัติที่สอดคล้องกับกฎหมายแรงงานของประเทศไทยและนโยบายด้านสิทธิมนุษยชนของบริษัท ที่มีการสื่อให้พนักงานทุกคนได้รับทราบทุกคน ไม่สนับสนุนกิจกรรมที่ละเมิดหลักสิทธิมนุษยชน
ธุรกิจของบริษัทต้องปราศจากการใช้แรงงานผิดกฎหมายทุกรูปแบบ อาทิ การค้ามนุษย์ การใช้แรงงานเด็กที่อายุไม่ถึงเกณฑ์ตามกฎหมาย และการใช้แรงงานบังคับ ทั้งในองค์กรและห่วงโซ่อุปทาน นอกจากนี้ บริษัทให้ความสำคัญกับการปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสียอย่างเท่าเทียม เคารพสิทธิแรงงาน โดยปราศจากการเลือกปฏิบัติในทุกรูปแบบ ทั้งในประเด็นด้าน สัญชาติและเชื้อชาติ ศาสนา ความหลากหลายทางเพศ อายุ และสภาพร่างกาย บริษัทสื่อสารแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนให้พนักงานรับทราบและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด ผ่านกระบวนการต่าง ๆ เช่น การปฐมนิเทศพนักงานใหม่ รวมถึงการเผยแพร่ข้อมูลผ่านช่องทางออนไลน์เพื่อให้สามารถเข้าถึงพนักงานทั่วโลกและสื่อสารตามแต่ละภาษา เป็นต้น เพื่อสร้างความเข้าใจและความตระหนักในแนวปฏิบัติที่สอดคล้องกับค่านิยมองค์กร พร้อมทั้งดูแลสิทธิพนักงาน ค่าตอบแทนที่เป็นธรรม และสอดคล้องกับข้อกำหนดทางกฎหมาย บริษัทส่งเสริมการมีส่วนร่วมของพนักงาน การพัฒนาศักยภาพในทุกระดับ ตลอดจนดูแลสวัสดิการและความปลอดภัยในสถานที่ทำงาน เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดี
การรวมกลุ่มของพนักงาน

ช.การช่าง ให้ความสำคัญกับการแสดงออกและรับฟังความเห็นจากพนักงาน ด้วยการให้เสรีภาพในการรวมกลุ่มเพื่อการเจรจาต่อรอง โดยได้จัดให้มีการเลือกตั้งกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบกิจการตามมาตราที่ 96 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ขึ้นในวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2566 ซึ่งให้อำนาจและหน้าที่แก่คณะกรรมการดังนี้
- ร่วมหารือ ให้คำปรึกษา และเสนอแนะความเห็นแก่นายจ้าง ด้านการบริหารจัดการเพื่อจัดสวัสดิการสำหรับลูกจ้าง
- ตรวจตรา ควบคุม ดูแล การจัดสวัสดิการที่นายจ้างจัดให้แก่ลูกจ้าง
- เสนอข้อคิดเห็นและแนวทางในการจัดสวัสดิการที่เป็นประโยชน์สำหรับลูกจ้างต่อคณะกรรมการสวัสดิการแรงงาน
ทางคณะกรรมการสวัสดิการได้จัดการประชุมคณะกรรมการอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2567 ประเด็นที่คณะกรรมการสวัสดิการให้ความสำคัญ คือ มาตรการด้านสุขภาพของพนักงาน อันเนื่องจาก สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ที่ยังมีโอกาสในการกลับมาแพร่ระบาด รวมถึงโรคไข้หวัดใหญ่ ซึ่งได้มีมติให้การสนับสนุน และเร่งดำเนินงานกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อพนักงาน ได้แก่ การตรวจสุขภาพพนักงาน การฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ปอดอักเสบ และวัคซีนงูสวัด การจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมด้านสุขภาพที่ดีให้กับพนักงาน เช่น การจัดให้มีการเต้นแอโรบิค การจัดการแข่งขันการออกกำลังกายเพื่อลดไขมัน
การพัฒนาศักยภาพพนักงาน
พนักงานถือเป็นหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจและสร้างความสามารถในการแข่งขันขององค์กร เพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงและการขยายตัวของธุรกิจ บริษัทจึงให้ความสำคัญกับการพัฒนาศักยภาพของพนักงานในทุกระดับ โดยจัดทำแบบสำรวจการพัฒนาพนักงานประจำปี (Development Survey) เพื่อสำรวจความต้องการในการฝึกอบรมของทุกสายงานที่ประกอบด้วยความสามารถหลักขององค์กร (Core Competency) และความสามารถเฉพาะสายงาน (Functional Competency) ควบคู่ไปกับการวิเคราะห์ผลการประเมินพนักงานของแต่ละสายงานตามแบบฟอร์มการบริหารผลงาน (Performance Management Form) ก่อนการวางแผนการฝึกอบรมตลอดปีงบประมาณ 2568 (Training Plan) ที่ประกอบด้วยโครงการฝึกอบรมทั้งหมด 23 โครงการ เช่น การฝึกอบรมด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน การฝึกอบรมด้านการรายงานด้านการเงินตามมาตรฐาน The Financial Reporting Standards (TFRS) การฝึกอบรมด้านการวางแผนงานก่อสร้างและการทำงานร่วมกันระหว่างเจ้าของโครงการ ผู้รับเหมาก่อสร้าง และที่ปรึกษา เป็นต้น
การประเมินผลการปฏิบัติงาน
บริษัทดำเนินการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานเป็นประจำทุกปี โดยใช้แบบฟอร์มบริหารผลงาน (Performance Management Form) โดยเป็นการประเมินตามตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้องกับสายงานของผู้รับการประเมิน เพื่อรวบรวมข้อมูลสำคัญและนำผลการประเมินการปฏิบัติงานของพนักงานมาใช้ในการพิจารณากำหนดค่าตอบแทนของพนักงาน และกำหนดแผนการฝึกอบรมที่ตอบโจทย์ความต้องการของแต่ละบุคคล ซึ่งครอบคลุมทั้งด้านการบริหารจัดการและทักษะวิชาชีพเฉพาะทาง เพื่อสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพของพนักงาน ดังระบุในเนื้อหาการพัฒนาศักยภาพพนักงานก่อนหน้า
การดึงดูดและรักษาบุคลากร
บริษัทให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการรักษาบุคลากรที่มีความสามารถและการดึงดูดผู้ที่มีศักยภาพสูง เพื่อรองรับการเติบโตของธุรกิจในอนาคต โดยมุ่งเน้นการสรรหาและคัดเลือกผู้สมัครที่เหมาะสมให้สอดคล้องกับความต้องการขององค์กร พร้อมทั้งให้ความสำคัญกับการรักษาบุคลากรที่มีคุณค่า ผ่านการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องในการจัดทำและปรับปรุงเส้นทางความก้าวหน้าในสายอาชีพ (Career Path) ของแต่ละกลุ่มงาน นอกจากนี้ บริษัทได้เตรียมความพร้อมและพัฒนาบุคลากรผู้ที่อยู่ในแผนการสืบทอดตำแหน่ง (Talent & Succession Management) อย่างจริงจัง ทั้งนี้ บริษัทยังให้ความสำคัญกับคุณภาพชีวิตและสวัสดิการของพนักงาน เพื่อสร้างแรงจูงใจและความผูกพันในองค์กรอย่างยั่งยืน

ในปี 2567 บริษัทได้สำรวจความพึงพอใจของพนักงาน โดยมีความครอบคลุมพนักงานอยู่ที่ 100% และมีระดับคะแนนความพึงพอใจอยู่ที่ 91% ถือว่าบรรลุเป้าหมายของ ช.การช่างที่ตั้งไว้ที่ 80% โดยผลสำรวจเปิดเผยประเด็นที่พนักงานงานมีความพึงพอใจต่อ ช.การช่าง น้อยที่สุด คือ “ประเด็นความพร้อมด้านอุปกรณ์และเครื่องมือ ที่เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน” เช่น คอมพิวเตอร์และเครื่องมือช่างไฟฟ้า โดยเฉพาะในช่วงเริ่มโครงการใหม่ ดังนั้น บริษัทจึงได้มีการจัดเตรียมอุปกรณ์และเครื่องมือให้พร้อมใช้งานเพื่อรองรับการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและลดอุปสรรคในการดำเนินโครงการ ทั้งนี้ ช.การช่างได้ สื่อสารผลการประเมินความพึงพอใจของพนักงานที่มีต่อองค์กรและการจัดการที่ตอบสนองต่อผลสำรวจฯ ให้พนักงานทั่วทั้งองค์กรรับทราบผ่านทั้งระบบ Intranet ภายใน รายงานความยั่งยืนฉบับบนี้ และเว็บไซต์หลักของ ช.การช่าง
คุณภาพชีวิต และสวัสดิการ
บริษัทให้ความสำคัญกับการยกระดับคุณภาพชีวิตของพนักงาน โดยมุ่งเน้นการสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่ปลอดภัยและเอื้อต่อความเป็นอยู่ที่ดี พร้อมทั้งจัดสรรสวัสดิการที่เหมาะสม โดยยึดหลักสิทธิมนุษยชนและสิทธิแรงงานอย่างเคร่งครัด ตัวอย่างสิทธิประโยชน์และสวัสดิการที่พนักงานจะได้รับ ได้แก่ โบนัสตามผลงานหรือผลประกอบการ ประกันชีวิตและประกันอุบัติเหตุ สวัสดิการค่ารักษาพยาบาล รวมถึงการดูแลสุขภาพร่างกายผ่านกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การตรวจสุขภาพประจำปี และกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ เพื่อให้พนักงานมีสุขภาพที่ดีและพร้อมสำหรับการทำงานอย่างเต็มที่ เป็นต้น ส่งผลให้มีอัตราการลาป่วยของพนักงาน 206 คน ในปี 2567
ตัวอย่างการดำเนินงาน

โครงการ CK The Biggest Fat Loser
บริษัทได้จัดโครงการ CK The Biggest Fat Loser เพื่อส่งเสริมสุขภาพของพนักงานผ่านการออกกำลังกายและการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ช่วยสร้างสุขนิสัยที่ดีและยั่งยืน โดยโครงการมีระยะเวลา 3 เดือน มีพนักงานเข้าร่วม 443 คน แบ่งเป็นสำนักงานใหญ่ 252 คน และโครงการต่าง ๆ 191 คน ตลอดโครงการได้จัดกิจกรรมให้ความรู้ เช่น การเชิญผู้เชี่ยวชาญมาแนะนำวิธีลดไขมันอย่างถูกต้อง และจัดกิจกรรมลุ้นรับของรางวัลจากผู้บริหาร ผู้ชนะจะพิจารณาจากการลดเปอร์เซ็นไขมันในร่างกายสูงสุด แบ่งเป็นฝ่ายชายและหญิง เพื่อส่งเสริมพนักงานให้มีสุขภาพแข็งแรงและสร้างแรงจูงใจในการดูแลตนเอง โดยบริษัทได้สนับสนันเงินรางวัลเพื่อเป็นแรงจูงใจรวมทั้งสิ้น 220,000 บาท ซึ่งถือเป็นโครงการที่มีประโยชน์ทั้งต่อพนักงานและบริษัท

โครงการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ์ และวัคซีนป้องกันปอดอักเสบ
บริษัทตระหนักถึงความสำคัญด้านสุขภาพพนักงาน ซึ่งมีผลโดยตรงต่อประสิทธิภาพการทำงาน จึงได้จัดโครงการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ์ และวัคซีนป้องกันปอดอักเสบ เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อ และลดการแพร่ระบาดของโรคในองค์กร โดยพนักงานจำนวน 1,082 คน คิดเป็น76.04% ของพนักงานทั้งหมด ได้รับการฉีดวัคซีนในโครงการนี้ ส่งเสริมสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีให้กับพนักงาน ลดการเจ็บป่วยและการลาหยุด ขณะเดียวกันยังช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาลให้กับองค์กร
นอกจากนี้ โครงการดังกล่าวยังช่วยส่งเสริมขวัญกำลังใจให้พนักงาน พร้อมปกป้องการแพร่ระบาดภายในองค์กร สร้างความพร้อมในการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่บริษัท อันเป็นการแสดงถึงความรับผิดชอบต่อสุขภาพและความเป็นอยู่ของพนักงานทุกคน ทั้งยังช่วยสร้างความเชื่อมั่นและไว้วางใจต่อองค์กรในระยะยาว

การฝึกอบรมด้านนวัตกรรม : “การคิดสร้างสรรค์ และ “Positive Thinking & Can do”
เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายการพัฒนานวัตกรรมมางธุรกิจเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมที่มีความมุ่งมั่นในการเป็นผู้นำธุรกิจก่อสร้างในภูมิภาคอย่างยั่งยืน และการขยายผลเทคโนโลยีและนวตักรรมสู่ประชาชนเพื่อพัฒ นาขีดความสามารถทางนวตักรรมของสังคม บริษัทดำเนินโครงการฝึกอบรมพนักงานด้านนวัตกรรม เพื่อส่งเสริมการคิดค้นหรือพัฒนานวัตกรรมทางธุรกิจเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมให้เกิดขึ้นภายในบริษัท โดยในปี 2567 พนักงาน ช.การช่างจำนวนกว่า 100 คน เข้ารับการฝึกอบรมในหลักสูตร “การคิดสร้างสรรค์” และ Positive Thinking & Can do” เพื่อให้พนักงานทราบถึงความสำคัญ ความหมาย มุมมองการคิด และกุญแจในการคิดเชิงสร้างสรรค รวมถึง สามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตและการทำงานได้