ความมุ่งมั่น ความท้าทาย และโอกาส

การดำเนินงานด้านสังคมและสิทธิมนุษยชนถือเป็นรากฐานสำคัญที่ช่วยสร้างความยั่งยืนให้กับองค์กรโดยเฉพาะในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งส่งผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสียหลากหลายกลุ่ม

เช่น พนักงาน ผู้รับเหมา ชุมชน และลูกค้า องค์กรจึงให้ความสำคัญกับการจัดการความเสี่ยงและปฏิบัติตามมาตรฐานที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างความไว้วางใจและลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น

ในด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยในการทำงานเป็นอีกหนึ่งประเด็นสำคัญที่บริษัทใส่ใจ โดย ช.การช่าง ได้ดำเนินงานที่สอดคล้องกับมาตรฐานแรงงานไทย (มรท. 8001-2553) จัดให้มีสภาพแวดล้อมการทำงานที่ปลอดภัย จัดหาอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลที่เหมาะสม และจัดการฝึกอบรมด้านความปลอดภัยอย่างสม่ำเสมอ เพื่อปกป้องสุขภาพและชีวิตของพนักงานและผู้รับเหมา ตลอดจนจัดทำมาตรการป้องกันอุบัติเหตุและจัดการความเสี่ยงอย่างครอบคลุม

การสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

เป้าหมายที่ 1:
ขจัดความยากจน
เป้าหมายที่ 3:
สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี
เป้าหมายที่ 4:
การศึกษาที่มีคุณภาพ
เป้าหมายที่ 5:
ความเท่าเทียมทางเพศ
เป้าหมายที่ 8:
งานที่มีคุณค่าและการเติบโตทางเศรษฐกิจ
เป้าหมายที่ 10:
ลดความไม่เสมอภาค
เป้าหมายที่ 16:
ความสงบสุข ยุติธรรมและสถาบันเข้มแข็ง

เป้าหมายและผลการดำเนินงาน

ผลการดำเนินงาน
จำนวนชั่วโมงการฝึกอบรมพนักงานเฉลี่ย
ชม./คน/ปี
ชั่วโมงการทำงาน
ชม./ปี
ต่อเนื่องโดยไม่มีการบาดเจ็บถึงขั้นหยุดงาน

แนวทางการจัดการและแนวปฏิบัติ

นโยบายด้านสิทธิมนุษยชนของบริษัทได้กำหนดแนวปฏิบัติด้านสิทธิมนุษยชน เช่น หลักการชี้นำของ UN ว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน (The UN Guiding Principles on Business and Human Rights)

โดยนโยบายด้านสิทธิมนุษยชนของ ช.การช่างครอบคลุมผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่มของบริษัท ได้แก่ ผู้ถือหุ้นนักลงทุนและนักวิเคราะห์ พนักงาน ลูกค้า คู่ค้า สื่อมวลชน ชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม หน่วยงานภาครัฐ และคู่แข่ง

โดยแนวปฏิบัติด้านแรงงานยังสะท้อนถึงการสนับสนุนการจ้างงานที่เป็นธรรมและการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานตามมาตรฐานปฏิญญาว่าด้วยหลักการและสิทธิขั้นพื้นฐานในการทำงานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (The International Labor Organization Declaration on Fundamental Principles and Rights at Work: ILO) และแนวปฏิบัติในการตรวจสอบธุรกิจอย่างรอบด้านสำหรับการดำเนินธุรกิจที่มีความรับผิดชอบของ Organization for Economic Co-operation and Development หรือ (OECD) โดยองค์กรได้ออกแบบกระบวนการทำงานที่ช่วยเสริมสร้างความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน พร้อมทั้งจัดการอบรมพนักงานในประเด็นสิทธิมนุษยชนและแรงงานอย่างต่อเนื่อง

ช.การช่าง ได้ให้ความสำคัญกับการปกป้องและส่งเสริมสิทธิมนุษยชนของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม โดยเริ่มจากการดูแลพนักงานซึ่งเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดขององค์กร ด้วยการปฏิบัติต่อพนักงานอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม เคารพสิทธิในการรวมกลุ่มและเจรจาต่อรอง พร้อมทั้งจัดสรรค่าตอบแทนและสวัสดิการที่เหมาะสม โดยปราศจากการเลือกปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสียของบริษัท ไม่ว่าจะมีความแตกต่างทางเชื้อชาติ ชาติพันธุ์ ศาสนา เพศ อายุ รสนิยมทางเพศ ความพิการ สถานภาพสมรส หรือสัญชาติ เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่เคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ส่งเสริมความหลากหลาย และความเท่าเทียม ยึดมั่นในการจ้างงานที่ถูกต้องตามกฎหมาย และจัดสภาพความเป็นอยู่ที่เหมาะสม ขณะเดียวกัน ช.การช่าง มีจุดยืนที่ชัดเจนในการต่อต้านการใช้แรงงานเด็กโดยเด็ดขาด โดยมีระบบการตรวจสอบอายุแรงงานที่เข้มงวด บริษัทเคารพสิทธิของชุมชนในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ดำเนินการประเมินผลกระทบต่อชุมชนก่อนเริ่มโครงการ และเปิดโอกาสให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและข้อกังวล พร้อมทั้งร่วมพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน

ในด้านความสัมพันธ์กับลูกค้า การบริหารจัดการที่ดีช่วยสร้างความไว้วางใจและความพึงพอใจ ส่งผลต่อความภักดีและชื่อเสียงขององค์กรในระยะยาว ขณะเดียวกัน การมีส่วนร่วมกับชุมชน เช่น การลดผลกระทบจากโครงการก่อสร้างด้านมลพิษและจราจร ช่วยสร้าง "ใบอนุญาตในการดำเนินงาน" (License to Operate) และส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืนสำหรับคู่ค้า ช.การช่าง ยึดหลักการปฏิบัติอย่างเป็นธรรม ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างด้วยความโปร่งใส รักษาความลับทางการค้า และส่งเสริมให้คู่ค้าดำเนินธุรกิจอย่างมีจริยธรรม ซึ่งจากแนวปฏิบัติที่บริษัทกำหนดขึ้นนี้ เพื่อสะท้อนถึงความมุ่งมั่นขององค์กรในการปฏิบัติตามมาตรฐานระดับสากล เพื่อให้ธุรกิจเติบโตควบคู่กับความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสียและชุมชนในทุกมิติ

นอกจากนี้ บริษัทกำลังยกระดับการดำเนินงานด้านสังคมในหลายประเด็น โดยเฉพาะการเสริมสร้างแนวปฏิบัติด้านสิทธิมนุษยชน ด้วยการมุ่งเน้นตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence: HRDD) เพื่อให้มั่นใจว่าทุกกระบวนการดำเนินงานเป็นไปอย่างยั่งยืนและรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม

ทั้งนี้ โดยในรอบปีที่ผ่านมา บริษัทได้ทบทวนและปรับปรุงนโยบายสิทธิมนุษยชนให้มีความครอบคลุมและชัดเจนยิ่งขึ้น โดยมีการดำเนินการที่สำคัญ ดังนี้

  1. การปรับปรุงนโยบายให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากลยิ่งขึ้น ได้แก่ แนวปฏิบัติในการตรวจสอบธุรกิจอย่างรอบด้านสำหรับการดำเนินธุรกิจที่มีความรับผิดชอบ ของ OECD (Organization for Economic Co-operation and Development)
  2. การปรับปรุงขอบเขตการดูแลผู้มีส่วนได้เสียแต่ละกลุ่มให้มีความชัดเจนยิ่งยึ้น
  3. การเสริมสร้างความเข้าใจและการนำไปปฏิบัติ เช่น การจัดอบรมให้ความรู้ด้านสิทธิมนุษยชนแก่ผู้บริหารและพนักงานทุกระดับ เป็นต้น

ผลจากการปรับปรุงนโยบายนี้ทำให้บริษัทมีแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนในการดูแลสิทธิมนุษยชนของผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม สอดคล้องกับมาตรฐานสากล รวมทั้งสามารถติดตามผลการดำเนินงานได้อย่างเป็นระบบมากขึ้น