

คุณภาพวัสดุก่อสร้าง
ความมุ่งมั่น ความท้าทาย และโอกาส
กิจกรรมของ ช.การช่าง ครอบคลุมงานก่อสร้างและการลงทุนในโครงการสาธารณูปโภคขนาดใหญ่ มุ่งเน้นการใช้วัสดุคุณภาพสูง ประสิทธิภาพการใช้พลังงาน การอนุรักษ์ทรัพยากร การใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และควบคุมกระบวนการก่อสร้างอย่างเคร่งครัด
เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้มีส่วนได้เสีย เช่น ลูกค้า ชุมชน พนักงาน และนักลงทุน บริษัทให้ความสำคัญกับความปลอดภัย ความยั่งยืน และความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในทุกขั้นตอนลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและความเสี่ยงในการทำงาน สร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดี ลดต้นทุนการดำเนินงาน พร้อมเสริมสร้างชื่อเสียงและภาพลักษณ์ของบริษัท การรักษามาตรฐานคุณภาพช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นและมูลค่าให้บริษัท ตอบสนองความต้องการของผู้มีส่วนได้เสียในระยะยาว
การสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
เป้าหมายที่ 11:
เป้าหมายที่ 12:
เป้าหมายที่ 13:

ผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง
เป้าหมายและผลการดำเนินงาน
- เลือกใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างน้อย ร้อยละ 10 ของมูลการวัสดุของ โครงการ
- คอนกรีตต้องมีวัสดุรีไซเคิลไม่น้อยกว่า ร้อยละ 20 และวัสดุท้องถิ่นร้อยละ 100
- เหล็กเส้นและเหล็กรูปพรรณต้องมีวัสดุรีไซเคิลร้อยละ 90 และวัสดุท้องถิ่น ร้อยละ 90
- อิฐมวลเบาและอิฐมอญต้องมีวัสดุท้องถิ่น ร้อยละ 100
- ลดขยะจากการก่อสร้างตาม TREES NC Credit MR 2 ด้วยกระบวนการ reuse หรือ recycle ให้ได้อย่างน้อย ร้อยละ 50 ด้วยนํ้าหนักและปริมาตร
(อย่างไรก็ตาม ทางทีมงานจะพยายามลดขยะให้ได้มากกว่า ร้อยละ 75)

แนวทางการจัดการและแนวปฏิบัติ

บริษัทปฏิบัติตามนโยบายการจัดการสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมการก่อสร้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Construction) การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน
โดยมุ่งเน้นการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน จัดหาวัสดุจากแหล่งที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เลือกใช้วัสดุประหยัดพลังงาน และจัดทำแนวทางการนำวัสดุกลับมาใช้ใหม่หรือรีไซเคิล เพื่อลดการใช้วัตถุดิบใหม่และลดปริมาณของเสียจากกระบวนการก่อสร้าง นอกจากนี้ บริษัทมุ่งลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก หลีกเลี่ยงการใช้วัสดุก่อสร้างที่อาจปล่อยก๊าซระเหย (VOCs) และหลีกเลี่ยงวัสดุที่มีแร่ใยหิน (Asbestos) เพื่อช่วยลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ แนวทางนี้ดำเนินตามหลักการประเมินวัฏจักรชีวิตผลิตภัณฑ์ (Life Cycle Assessment: LCA) ซึ่งวิเคราะห์ผลกระทบของวัสดุในทุกขั้นตอนของวงจรชีวิต บริษัทปฏิบัติตามมาตรฐานระบบบริหารคุณภาพ ISO 9001:2015 รวมถึงให้ความสำคัญกับการจัดซื้อและจัดจ้างตามคุณสมบัติที่ลูกค้ากำหนด และได้กำหนดให้ฝ่ายบริหารโครงการในทุกโครงการจัดทำระบบและแผนปฏิบัติงาน รวมถึงแผนดูแลเพื่อควบคุมและลดผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ ยังมีระบบตรวจสอบคุณภาพอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ เพื่อรักษามาตรฐานคุณภาพและสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้มีส่วนได้เสีย
ทั้งนี้ บริษัทได้กำหนดระยะเวลารับประกันคุณภาพงานก่อสร้าง 36 เดือน เพื่อสร้างความมั่นใจแก่ผู้ว่าจ้างและผู้ใช้งาน โดยมาตรฐานดังกล่าวครอบคลุมการตรวจสอบคุณภาพและการแก้ไขข้อบกพร่องที่อาจเกิดขึ้นหลังการก่อสร้าง ยืนยันถึงคุณภาพ ความแข็งแรง และความคงทนของโครงการอย่างมีประสิทธิภาพ
แนวทางการนำวัสดุกลับมาใช้ใหม่ และการเลือกใช้วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
คุณภาพวัสดุก่อสร้างเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความปลอดภัย ความทนทาน และประสิทธิภาพของโครงสร้าง ช.การช่าง ได้กำหนดมาตรฐานและแนวปฏิบัติในการทำงานแบบหล่อคอนกรีต (Formwork) เพื่อให้มั่นใจว่าวัสดุและกระบวนการก่อสร้างเป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัยและคุณภาพที่กำหนด
มาตรฐานและแนวทางการปฏิบัติ
การเลือกใช้วัสดุ | กระบวนการควบคุมคุณภาพ |
---|---|
|
|
ช.การช่าง ได้จัดทำแนวทางการการใช้วัสดุให้มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการดำเนินงาน ทั้งการวางแผนการก่อสร้างอย่างเป็นระบบและการใช้วัสดุซ้ำให้ได้มากที่สุดบนพื้นฐานด้านความปลอดภัย โดยกระบวนต่าง ๆ เช่น การเคลือบไม้แบบด้วยสารเคมีถนอมเนื้อไม้หรือน้ำยาทาแบบ การก่อสร้างที่พักคนงานจากวัสดุเดิมที่ยังคงคุณภาพและความปลอดภัย เป็นต้น
ก่อนการก่อสร้าง
- ตรวจสอบความแน่นหนาของแบบหล่อก่อนเรียงเหล็กเสริม
- ทำความสะอาดแบบหล่อเพื่อป้องกันสิ่งแปลกปลอม
- ห้ามวางวัสดุก่อสร้างทับบนแบบหล่อเพื่อป้องกันความเสียหาย
ระหว่างการก่อสร้าง
- ติดตั้งอุปกรณ์ปรับระดับเพื่อป้องกันการเคลื่อนตัวของแบบหล่อขณะเทคอนกรีต
- เฝ้าสังเกตความแข็งแรงของแบบหล่อระหว่างเทคอนกรีต หากพบการทรุดตัวให้แก้ไขทันที
หลังการก่อสร้าง
- การถอดแบบหล่อต้องเป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนด เช่น แบบข้างคาน เสา กำแพง และฐานรากต้องรอ 2 วันก่อนถอด
- หลังถอดแบบ ต้องมีการค้ำยันเพิ่มเติมเพื่อรองรับน้ำหนักของโครงสร้าง
- ทดสอบพื้นผิวคอนกรีตและดำเนินการแก้ไขหากพบข้อบกพร่อง
นอกจากนี้ บริษัทได้ริเริ่มการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลการใช้วัสดุ (Pilot Testing) ผ่านระบบ SAP: Controlling System เพื่อวิเคราะห์และพัฒนาการวางแผนการใช้วัสดุให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยมีเป้าหมายในการขยายความครอบคลุมของระบบ SAP: Controlling System ร้อยละ 100 ภายหลังการสรุปผลโครงการนำร่องดังกล่าว
การใช้การวิเคราะห์วงจรชีวิต (LCA) ในการออกแบบผลิตภัณฑ์หรือระบบ
ช.การช่าง ใช้การวิเคราะห์วงจรชีวิต (Life Cycle Assessment: LCA) เป็นเครื่องมือสำคัญในการประเมิน วิเคราะห์ และรายงานผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในทุกขั้นตอนของวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์หรือระบบในงานก่อสร้าง ตั้งแต่การจัดหาวัสดุ การผลิต การขนส่ง การใช้งาน ไปจนถึงการกำจัดทิ้ง โดยการใช้ LCA ช่วยให้สามารถวางแผนและออกแบบที่คำนึงถึงการลดการใช้ทรัพยากรและพลังงาน ลดของเสียและมลพิษ พร้อมทั้งสนับสนุนการเลือกใช้วัสดุที่ยั่งยืน เช่น วัสดุรีไซเคิลหรือวัสดุที่ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เป็นต้น อีกทั้งยังนำข้อมูลจาก LCA มาปรับปรุงกระบวนการก่อสร้างและการจัดการขยะอย่างเป็นระบบ สนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) และเสริมศักยภาพในการแข่งขัน พร้อมสร้างสมดุลระหว่างการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการปกป้องสิ่งแวดล้อมในระยะยาวว
การตั้งเป้าหมาย
ในปี 2567 ได้ดำเนินการก่อสร้างโครงการ หอศิลปวัฒนธรรมเมืองน่าน และแหล่งเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมล้านนาตะวันออก โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน ครอบคลุมทั้งด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะการใช้วัสดุรีไซเคิล และ วัสดุท้องถิ่น (Regional Material) ในสัดส่วนที่กำหนด
ตัวชี้วัด/เป้าหมาย | ผลการดำเนินงาน 2567 | การรับรอง |
---|---|---|
|
ช.การช่าง สามารถดำเนินการได้สอดคล้องตามตัวชี้วัดและเป้าหมายที่กำหนดตามข้อตกลงในสัญญาจัดซื้อจัดจ้าง ผ่านการตรวจสอบ Material Checklist นอกจากนี้ ยังมีการตรวจสอบวัสดุที่เกี่ยวข้องกับข้อกำหนดทางด้านสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ
|
|