โครงการ หอศิลปวัฒนธรรมเมืองน่าน และแหล่งเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมล้านนาตะวันออก
ช.การช่าง ได้ดำเนินการก่อสร้างโครงการ หอศิลปวัฒนธรรมเมืองน่าน และแหล่งเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมล้านนาตะวันออก ด้วยความใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม ผ่านแนวทาง Green Building ตามมาตรฐาน TREES ไม่ว่าจะเป็นการเลือกใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การจัดการขยะอย่างมีประสิทธิภาพ การลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมระหว่างการก่อสร้าง รวมถึงการออกแบบให้สอดคล้องกับบริบทของชุมชนและวัฒนธรรมล้านนา เพื่อให้โครงการมีความยั่งยืนทั้งในปัจจุบันและอนาคต
1) การใช้วัสดุก่อสร้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
นอกจากการใช้วัสดุ รีไซเคิล และ วัสดุท้องถิ่น (Regional Material) ในสัดส่วนที่เหมาะสมดังที่กล่าวถึงใน “การตั้งเป้าหมาย” แล้ว โครงการยังมีการกำหนดให้ใช้สี กาว และสารเคลือบประเภท Low-VOC เพื่อลดมลพิษทางอากาศภายในอาคาร และมีระบบกระจกและฉนวนกันความร้อนได้รับการออกแบบเพื่อลดการใช้พลังงานและเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมอุณหภูมิภายในอาคาร รวมถึงโครงการเลือกใช้คอนกรีตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยมี Green Label Product กำกับอย่างชัดเจน
2) การบริหารจัดการขยะและของเสียจากการก่อสร้าง
- มี มาตรการคัดแยกและรีไซเคิลขยะจากการก่อสร้าง โดยมีเป้าหมายให้สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ไม่น้อยกว่า 95%
- มีแผนการจัดการมลพิษ เช่น การป้องกันฝุ่นละอองและของเสียที่อาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
- ตรวจสอบและส่งรายงานปริมาณขยะจากการก่อสร้างเป็นรายเดือน
3) การออกแบบเพื่อสังคมและการอนุรักษ์วัฒนธรรม
- โครงการออกแบบให้สอดคล้องกับ อัตลักษณ์ของล้านนา ทั้งในด้านสถาปัตยกรรมและวัสดุที่เลือกใช้
- มีการอนุรักษ์ต้นไม้เดิมภายในพื้นที่โครงการ และปลูกต้นไม้เพิ่มเติมตามแนวทางของ TREES-NC เพื่อสร้างพื้นที่สีเขียว
- สนับสนุนการจ้างแรงงานในท้องถิ่น เพื่อกระจายรายได้และส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน
4) การประหยัดพลังงานและการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า
- ติดตั้งระบบปรับอากาศที่ใช้สารทำความเย็นที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (R410A หรือ R32) และมี EER > 11.51 เพื่อประสิทธิภาพการใช้พลังงาน
- ระบบแสงสว่างทั้งหมดในโครงการใช้ หลอดไฟ LED เพื่อประหยัดพลังงาน
- มีการติดตั้ง มาตรวัดพลังงานและระบบควบคุมอาคาร (Building Automation System - BAS) เพื่อเฝ้าระวังและปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานในระยะยาว
5) มาตรฐานการรับรองและการตรวจสอบคุณภาพ
- โครงการดำเนินงานตามเกณฑ์อาคารเขียว TREES (Thai’s Rating of Energy and Environmental Sustainability) ซึ่งเป็นมาตรฐานที่พัฒนาโดยสถาบันอาคารเขียวไทย
- มีการตรวจสอบคุณภาพและ Commissioning Requirement โดยผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับการรับรองจาก TGBI (Thai Green Building Institute)
- มีการทดสอบและปรับแต่งระบบพลังงาน ระบบน้ำ และระบบสุขาภิบาลให้มีประสิทธิภาพสูงสุดก่อนส่งมอบโครงการ
การสนับสนุนการรีไซเคิลวัสดุก่อสร้างของบริษัท ช.การช่าง
ช.การช่าง ได้ดำเนินการจัดการวัสดุเหลือใช้จากกิจกรรมก่อสร้างอย่างเป็นระบบ โดยมุ่งเน้นการคัดแยกวัสดุแต่ละประเภทเพื่อส่งต่อให้กับผู้รับจัดการที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายและมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เพื่อนำไปรีไซเคิลหรือกำจัดอย่างถูกวิธี ผ่านกระบวนอย่างเป็นระบบ ดังนี้
ผลลัพธ์จากการดำเนินงาน 2567
เศษเหล็กที่เกิดจากการดำเนินงาน ถูกนำกลับมารีไซเคิลให้เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่า ผ่านการขายให้ผู้รับซื้อ ซึ่งจะส่งต่อให้บริษัทหรือโรงงานหลอม เพื่อขึ้นรูปและนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ โดยในปี 2567