ความมุ่งมั่น ความท้าทาย และโอกาส

ช.การช่าง ดำเนินธุรกิจก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ ประกอบด้วยการพัฒนาถนน ทางด่วน ระบบขนส่งมวลชน และโครงการสาธารณูปโภคต่าง ๆ ซึ่งแน่นอนว่าย่อมส่งผลกระทบต่อชุมชนในหลายมิติ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการจราจรติดขัด ความปลอดภัยบนท้องถนน ตลอดจนมลภาวะทางอากาศที่เกิดจากฝุ่นละออง

เพื่อบรรเทาและจัดการผลกระทบดังกล่าว บริษัทได้มุ่งเน้นการสร้างความเข้าใจและรักษาความสัมพันธ์อันดีกับชุมชนอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งส่งเสริมภาพลักษณ์การดำเนินงานด้วยความรับผิดชอบ โดยตระหนักดีว่าการขาดความไว้วางใจจากชุมชนอาจนำไปสู่ความขัดแย้งที่ส่งผลกระทบต่อโครงการและสถานะทางการเงินของบริษัท

ด้วยเหตุนี้ บริษัทจึงให้ความสำคัญกับการดูแลชุมชนอย่างโปร่งใสและมีส่วนร่วม ผ่านการสนับสนุนโครงการพัฒนาชุมชน การปฏิบัติตามหลักจริยธรรมด้านแรงงาน และการส่งเสริมความหลากหลาย เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือที่ยั่งยืนในระยะยาว ซึ่งนอกเหนือจากการบรรเทาผลกระทบ บริษัทยังมีบทบาทสำคัญในการสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อชุมชนและประชาชนในหลากหลายมิติ โดยการช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตผ่านการสร้างงานและรายได้ให้กับชุมชนท้องถิ่น รวมถึงการสนับสนุนธุรกิจรายย่อยผ่านกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างในพื้นที่ ทั้งยังดำเนินโครงการเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตในด้านต่าง ๆ อาทิ การพัฒนาทักษะอาชีพ การจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ และการมีส่วนร่วมพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสำคัญ ดังเช่นการปรับปรุงระบบถนน น้ำประปา และไฟฟ้าในพื้นที่ขาดแคลน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างแท้จริง

การดำเนินงานเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและเจตนารมณ์อันแน่วแน่ในการสร้างคุณค่าให้กับชุมชนอย่างยั่งยืน ครอบคลุมมิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม อันจะช่วยเสริมสร้างความไว้วางใจและความสัมพันธ์อันดีระหว่างบริษัทและชุมชนโดยรอบ

การสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

เป้าหมายที่ 4:
การศึกษาที่มีคุณภาพ
เป้าหมายที่ 10:
ลดความเหลื่อมล้ำ
เป้าหมายที่ 16:
ความสงบสุข ยุติธรรมและสถาบันเข้มแข็ง

ผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง

ชุมชนและประชาชน
การดำเนินงานของบริษัท อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของชุมชนและประชาชนได้โดยเฉพาะปัญหาการจราจรติดขัด ความปลอดภัยทางถนน และมลสารทางอากาศ (ฝุ่น)

แนวทางการจัดการและแนวปฏิบัติ

ช.การช่าง ให้ความสำคัญกับการพัฒนาชุมชนโดยรอบสถานที่ปฏิบัติงานโดยเฉพาะชุมชนในรัศมี 5 กิโลเมตร ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากโครงการ และถือเป็นกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียหลักที่บริษัทต้องดูแลตามข้อกำหนดของรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) การดำเนินงานในพื้นที่ดังกล่าวจึงเน้นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีและการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในชุมชนให้เกิดประโยชน์สูงสุด

นอกจากนี้ บริษัทยังให้ความสำคัญกับชุมชนและสังคมโดยรอบพื้นที่โครงการ ที่แม้จะไม่ได้รับผลกระทบโดยตรง โดย ช.การช่าง ได้ดำเนินโครงการที่ส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืนและสร้างประโยชน์ร่วมกันในวงกว้าง เช่น การสนับสนุนโครงการด้านการศึกษา การสร้างงาน และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในสังคมโดยรวม

โดยบริษัทได้วางแนวทางการลงทุนในชุมชน (Community Investment) โดยผูกโยงกับกลยุทธ์ทางธุรกิจ ผ่านการส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืนในพื้นที่ที่บริษัทดำเนินงาน และขยายผลไปยังชุมชนโดยรอบ เพื่อสร้างสมดุลระหว่างการดำเนินธุรกิจและความรับผิดชอบต่อสังคมอย่างแท้จริง และบรรเทาผลกระทบจากธุรกิจก่อสร้างและโครงการสาธารณูปโภค ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยเริ่มจากการสำรวจความคิดเห็นและข้อกังวลของชุมชนที่อาจได้รับผลกระทบเชิงลบในปัจจุบันหรืออนาคต และนำข้อมูลดังกล่าวมาใช้ในการวางแผนและดำเนินโครงการที่สอดคล้องกับธุรกิจของบริษัท (CSR in Process) เช่น การส่งเสริมการศึกษา การพัฒนาชุมชน โดยการจ้างงานและพัฒนาทักษะอาชีพ สนับสนุนผู้ด้อยโอกาสและกลุ่มเปราะบาง เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม โดยการสนับสนุนความเชี่ยวชาญและองค์ความรู้ในด้านวิศวกรรมศาสตร์ของพนักงาน ช.การช่าง ให้แก่ ชุมชนและประชาชน และเปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจและมีความสามารถเป็นไปตามข้อกำหนดของบริษัทเข้าร่วมทำงานกับ ช.การช่าง พร้อมทั้ง การดูแลคุณภาพชีวิตส่งเสริมกีฬาและสันทนาการ การดูแลอนามัย และความปลอดภัย รวมถึงการดูแลทรัพยากรธรมชาติและสิ่งแวดล้อมทั้งในพื้นที่โครงการและภาพรวม ทั้งนี้บริษัทกำลังอยู่ในระหว่างการพัฒนากลยุทธ์ด้านการมีส่วนร่วมกับชุมชน (CSR Strategy) เพื่อยกระดับประสิทธิภาพการดำเนินงานเกี่ยวกับกับชุมชนให้ดียิ่งขึ้น

บริษัทได้แต่งตั้งคณะกรรมการกิจการสังคมและความยั่งยืน ซึ่งประกอบด้วยประธานและกรรมการที่มีหน้าที่ติดตามความคืบหน้าและประสิทธิผลของโครงการด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม พร้อมสนับสนุนการพัฒนานโยบายธุรกิจที่มุ่งเน้นการเติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืน โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในทุกภาคส่วน ภายใต้กรอบ ESG (สิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล) เพื่อสร้างความยั่งยืนอย่างเป็นรูปธรรม

กรอบการดำเนินงานการมีส่วนร่วมกับชุมชน
กรอบการดำเนินงานการมีส่วนร่วมกับชุมชน
การดูแลชุมชนและสังคมอย่างต่อเนื่อง
การดูแลชุมชนและสังคมอย่างต่อเนื่อง
ช่องทางการรับข้อร้องเรียน
บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) (สำนักงานใหญ่)
587 อาคารวิริยะถาวร ถนนสุทธิสารวินิจฉัย แขวงรัชดาภิเษก เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400
ติดต่อคณะกรรมการตรวจสอบ
audit_committee@ckplc.com www.ch-karnchang.co.th

การมีส่วนร่วมของชุมชนในการลดผลกระทบจากโครงการและการดำเนินงานของบริษัท

ช.การช่าง มีกระบวนการดูแลผลกระทบจากการดำเนินโครงการอย่างเข้มงวด เพื่อให้มั่นใจว่าโครงการทุกโครงการจะไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนในทางลบ โครงการที่บริษัทได้รับความเชื่อมั่นจากลูกค้าให้เป็นผู้ดำเนินงานก่อสร้างเป็นโครงการขนาดใหญ่ ที่ต้องผ่านการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment: EIA) ตามแนวทางของสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งรวมถึงการสำรวจความคิดเห็นและข้อกังวลจากชุมชนที่อยู่ใกล้เคียง ทั้งก่อนและระหว่างการก่อสร้าง ในการดำเนินงาน บริษัทได้จัดให้มีการให้ข้อมูลที่ชัดเจนเกี่ยวกับโครงการ รวมถึงมาตรการลดผลกระทบด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม และจัดตั้งช่องทางการสื่อสารเพื่อให้ชุมชนสามารถติดตามข่าวสารและประสานงานกับโครงการได้สะดวก การรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากชุมชนเป็นส่วนสำคัญในการปรับปรุงกระบวนการทำงาน ทั้งที่หน้างาน และผ่านช่องทางการรับข้อร้องเรียนของบริษัท เพื่อให้การดำเนินโครงการเป็นไปอย่างราบรื่น

ในปี 2567 โครงการที่มีการสำรวจความคิดเห็นของชุมชน คือ โครงการ โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) ระยะก่อสร้างสัญญา 1 งานออกแบบและก่อสร้างอุโมงค์ทางวิ่งและสถานีใต้ดิน ช่วงเตาปูน-หอสมุดแห่งชาติซึ่งผลการสำรวจพบว่ามีผลกระทบด้านลบสำคัญที่เกิดขึ้นในช่วงการก่อสร้างโครงการ โดยบริษัทได้นำประเด็นผลกระทบที่สำรวจพบมาแก้ไขปรับปรุงเพื่อลดความเสียหายต่อชุมชนและสังคมโดยทันที ดังนี้


การจ้างงานและ/หรือการจัดหาทรัพยากรในท้องถิ่น

บริษัทเชื่อมั่นในหลักการพัฒนาที่ยั่งยืน จึงให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจที่ส่งผลกระทบเชิงบวกต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสนับสนุนชุมชนท้องถิ่น

โดยมุ่งมั่นจะเพิ่มสัดส่วนการจ้างงานบุคลากรในพื้นที่ และ เพิ่มสัดส่วนการจัดหาทรัพยากรหรือวัสดุจากผู้ผลิตในชุมชน ซึ่งจะพัฒนาคุณชีวิตของชุมชน ส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก และลดปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์และมลภาวะจากการขนส่ง การดำเนินการดังกล่าวจะสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับธุรกิจในระยะยาว และเป็นการลงทุนเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน

กิจกรรมของเรา