ความมุ่งมั่น ความท้าทาย และโอกาส

ช.การช่าง ตระหนักถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากธุรกิจก่อสร้างและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เช่น อุบัติเหตุจากเครื่องจักร ความเครียดจากการเร่งรัดงาน และปัญหาด้านสุขภาพของพนักงานและผู้รับเหมา

จึงดำเนินการจัดสภาพแวดล้อมการทำงานที่ปลอดภัย ปฏิบัติตามกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง จัดฝึกอบรม ประเมินความเสี่ยง และกำหนดมาตรการป้องกันอย่างเข้มงวด พร้อมเปิดเผยผลการดำเนินงานอย่างโปร่งใส สนับสนุนการปรับปรุงและพัฒนามาตรการด้านความปลอดภัยอย่างต่อเนื่องผ่านกระบวนการติดตามผลและประเมินผลเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและสร้างความยั่งยืนในองค์กร

การสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

เป้าหมายที่ 3:
สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี
เป้าหมายที่ 8:
งานที่มีคุณค่าและการเติบโตทางเศรษฐกิจ

ผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง

พนักงานและผู้รับเหมา
มีความคาดหวังให้สถานที่ทำงานมีสภาพแวดล้อมที่ดีและปลอดภัย รวมถึงมาตรการป้องกันที่เหมาะสม เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและลดความเสี่ยงจากอันตรายต่าง ๆ ซึ่งจะช่วยเพิ่มความพึงพอใจและประสิทธิภาพในการทำงาน

เป้าหมายและผลการดำเนินงาน

ผลการดำเนินงาน
ชั่วโมงการทำงาน
ชม./ปี
ต่อเนื่องโดยไม่มีการบาดเจ็บถึงขั้นหยุดงาน
พนักงานและผู้รับเหมา = 0
พนักงาน =
คน
ผู้รับเหมา =
คน
พนักงานและผู้รับเหมา = 1 คน
พนักงาน =
คน
ผู้รับเหมา =
คน
จำนวนพนักงานที่ได้รับการฝึกอบรมด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
คน

แนวทางการจัดการและแนวปฏิบัติ

บริษัทให้ความสำคัญกับความปลอดภัยและอาชีวอนามัยของบุคลากรและผู้เกี่ยวข้อง โดยยึดมั่นในนโยบายด้านความปลอดภัยที่ครอบคลุมทุกการดำเนินงาน ทั้งในโครงการก่อสร้างและสำนักงานใหญ่

โดยที่ประเด็นด้านความปลอดภัยถูกรวมไว้ในแผนงานอย่างชัดเจนและต่อเนื่อง เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานที่กำหนด บริษัทดำเนินการประเมินความเสี่ยงในทุกขั้นตอนการปฏิบัติงานเพื่อลดโอกาสการเกิดอันตราย และส่งเสริมวัฒนธรรมความปลอดภัยผ่านกิจกรรม ฝึกอบรม และให้ความรู้แก่บุคลากร เพื่อสร้างความตระหนักรู้และความเข้าใจในมาตรการที่เหมาะสม นอกจากนี้ ช.การช่าง มุ่งมั่นที่จะเป็นบริษัทที่มีอุบัติเหตุจากการดำเนินงานเป็นศูนย์ (Zero Accident) โดยยึดมั่นในหลักการพัฒนาการดำเนินงานด้านอาชีวอนามัยอย่างต่อเนื่อง (Continuous Improvement) และกำหนดเป้าหมายการลดอุบัติเหตุจนถึงขั้นหยุดงานให้ไม่เกิน 0.2 (รวมพนักงานและผู้รับเหมา)

จากปีฐาน 2566 ทั้งนี้ ช.การช่าง ดำเนินการระบุความเสี่ยงจากการดำเนินงานและกำหนดมาตรการควบคุมความเสี่ยงดังกล่าวที่ครอบคลุมทั้ง พนักงานของ ช.การช่างและผู้รับเหมา ตลอดจนการตรวจสอบและพัฒนานโยบายด้านความปลอดภัยอย่างต่อเนื่อง โดยปรับปรุงให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงและความต้องการในอนาคต รวมถึงใช้ระบบบริหารคุณภาพ ISO 9001:2015 เพื่อรักษามาตรฐานในการดำเนินงาน ในกรณีความเสี่ยงที่อยู่นอกเหนือการควบคุม เช่น ภัยธรรมชาติหรือโรคระบาด บริษัทจัดทำแผนความต่อเนื่องทางธุรกิจ (Business Continuity Plan หรือ BCP) เพื่อให้พนักงานและผู้บริหารสามารถปฏิบัติงานในสถานการณ์ฉุกเฉินและฟื้นฟูกระบวนการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในระยะเวลาอันเหมาะสม

ช.การช่าง ได้แต่งตั้งคณะกรรมการความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน (Health and Safety Committee ) โดยมีกรรมการบริษัท เป็นผู้กำกับดูแล เพื่อบริหารจัดการความปลอดภัยและสุขภาพของพนักงานและผู้รับเหมา โดยประกอบด้วยกรรมการ 11 คน ได้แก่ ประธานกรรมการ (ผู้จัดการโครงการ) กรรมการจากระดับบังคับบัญชา 5 ท่าน กรรมการจากระดับปฏิบัติการ 6 ท่าน และเลขานุการ (เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยวิชาชีพ) โดยมีการประชุมทุกสัปดาห์ อีกทั้ง กำหนดให้มีหน่วยงานที่รับผิดชอบอย่างชัดเจนในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน ที่ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับวิชาชีพ ผู้จัดการส่วนก่อสร้าง ผู้จัดการส่วนบริหารโครงการ และผู้จัดการความปลอดภัย ทำหน้าที่ร่วมกันและประสานงานกับหน่วยงานภายนอก เช่น โรงพยาบาล สถานีตำรวจ สายด่วนต่าง ๆ เป็นต้น รวมถึงการประเมินและกำหนดมาตรการควบคุมความเสี่ยงด้านอาชีวอนามั

นโยบายด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัย

นโยบายด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัย

กฏหมายและมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง

ช.การช่าง ดูแลพนักงานและผู้รับเหมา ตามกฎหมายประเทศไทยที่เกี่ยวข้องอย่างครบถ้วน ดังนี้

  1. กฎกระทรวง เรื่อง กำาหนดมาตรฐานในการบริหารและจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับงานก่อสร้าง พ.ศ. 2551
  2. พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554
  3. กฎกระทรวงกำาหนดมาตรฐานในการบริหารและจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2553
  4. กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ. 2552
  5. กฎกระทรวง กำาหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานในที่อับอากาศ พ.ศ. 2547

นอกจากนี้ ช.การช่าง มีการกำหนดแนวทางการปฏิบัติงานเพื่อป้องกันความบกพร่องที่อาจเกิดขึ้นได้ โดยนำระบบบริหารคุณภาพ ISO 9001 : 2015 มาใช้ในการรักษามาตรฐานการปฏิบัติงานโครงการ ก่อสร้างต่าง ๆ และสำนักงานใหญ่ มีขอบเขตครอบคลุม การดำเนินกิจกรรมหลักในธุรกิจของบริษัท อีกทั้งกลุ่มบริษัทได้กำาหนดแนวทางสำาหรับการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ความสามารถ มีจริยธรรม และความรับผิดชอบต่อองค์กร รวมถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อเป็นการลดและป้องกันความเสียหาย จากความเสี่ยงที่ส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติงานดังกล่าว


มาตรการดูแลสุขภาวะและความปลอดภัยของพนักงาน

ช.การช่างได้กำหนดแนวทางเชิงรุกเพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงในการทำงาน โดยจัดทำคู่มือปฏิบัติการและแผนการบริหารจัดการด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัย (Health & Safety Management Plan) เพื่อดูแลสุขภาพและความปลอดภัยของพนักงานและผู้รับเหมา

มาตรการดังกล่าวครอบคลุมทั้งการจัดการความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน รวมถึงการจัดการความเสี่ยงและป้องกันเหตุการณ์ เช่น โรคระบาด รวมถึงปฏิบัติตามกฎหมายด้านความปลอดภัยในสถานที่ก่อสร้าง การทำงานในที่อับอากาศ และการใช้งานเครื่องจักร เพื่อให้การปฏิบัติงานปลอดภัยและสอดคล้องกับมาตรฐาน โดยในประเด็นของการดูแลสุขภาวะและความปลอดภัยของพนักงานในสถานการณ์โรคระบาดนั้น ช.การช่าง ดำเนินการคัดกรองคนงานเป็นประจำทุกวัน พร้อมทั้งติดอุปกรณ์ทำความสะอาดและป้ายประชาสัมพันธ์ถึงแนวทางการปฏิบัติตน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการระบาดในบริเวณสถานที่ก่อสร้างของ ช.การช่าง


การประเมินความเสี่ยงด้านสุขอนามัยและความปลอดภัยในสภาพแวดล้อมการทำงาน (OHS Risk Assessment)

ช.การช่างให้ความสำคัญกับการประเมินความเสี่ยงในการปฏิบัติงานของพนักงานและผู้รับเหมาที่ดำเนินงานในพื้นที่ โดยดำเนินการประเมินคะแนนความเสี่ยงของทุกโครงการที่ดำเนินการอยู่ (Existing Projects) หรือกำลังจะดำเนินงานในอนาตค (Potential Project) ที่คำนวณจากโอกาสเกิดความเสี่ยง (Likelihood) และความรุนแรงของผลกระทบ (Severity) โดยใช้แบบประเมินที่ครอบคลุมประเด็นสำคัญ เช่น ความเสี่ยง โอกาสเกิด ผลกระทบ และแนวทางป้องกัน โดยครอบคลุมตลอดห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจการก่อสร้างและธุรกิจการพัฒนาโครงการสาธารณูปโภค ผลการประเมิน รวมถึงแผนและกิจกรรมการดำเนินการที่สามารถลดความเสี่ยงผลการประเมินจะถูกรวบรวมและนำเสนอผ่านรายงานการบริหารความเสี่ยงรายไตรมาส เพื่อรับทราบและอนุมัติ ผู้รับผิดชอบโครงการ พนักงาน และคู่ค้าได้รับทราบข้อมูลและดำเนินการตามแนวทางที่เหมาะสมในการลดความเสี่ยง สร้างความปลอดภัย และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน

แนวทางป้องกันและลดความเสี่ยง
แนวทางป้องกันและลดความเสี่ยง

อุบัติเหตุขณะก่อสร้างถือเป็นประเด็นความเสี่ยงที่มีโอกาสพบเจอบ่อยในการลักษณะการทำงานประเภทงานก่อสร้าง ช.การช่างจึงกำหนดแนวทางป้องกันและลดความเสี่ยงด้านสุขอนามัยและความปลอดภัยในสภาพแวดล้อมการทำงานในขั้นตอนการปฏิบัติงาน โดยผู้รับผิดชอบโครงการและผู้ปฏิบัติอิงานต้องดำเนินงานตามอยากเคร่งครัด ได้แก่ (1) การวางแผนด้านความปลอดภัย (2) การปฏิบัติตามแผนความปลอดภัย (3) การตรวจสอบด้านความปลอดภัย และ (4) การพัฒนาด้านความปลอดภัย โดยระบุไว้ในนโยบายด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยของบริษัท

ในภาพรวมของการประเมินความเสี่ยงด้านสุขอนามัยและความปลอดภัยในสภาพแวดล้อมการทำงานปี 2567 ที่ครอบคลุมทั้งพนักงานของ ช.การช่างและผู้รับเหมา พบว่า การดำเนินงานในแต่ละสถานที่ก่อสร้างมีความเสี่ยงอยู่ในระดับต่ำ (โอกาสเกิดอุบัติเหตุและความรุนแรงของผลกระทบอยู่ที่ระดับ 4 และ 1 ตามลำดับ) ซึ่งเป็นการรวมผลการประเมินของทุกสถานก่อสร้าง อย่างไรก็ตาม ช.การช่างได้เพิ่มมาตรการเพื่อความปลอดภัยในการดำเนินงานของพนักงานทั้งหมด โดยกำหนดให้ผู้จัดการโครงการ ผู้จัดการส่วนก่อสร้างโครงการ ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ และฝ่ายกฎหมายร่วมกันรับผิดชอบดำเนินการตรวจสอบจากผู้มีประสบการ์ในทุกขั้นตอน ตามคู่มือปฏิบัติงานด้านอาชีวอนามัยของ ช.การช่าง ในทุกสถานที่ก่อสร้าง (ร้อยละ 100)


แนวทางป้องกันและลดความเสี่ยง

อุบัติเหตุระหว่างการก่อสร้างเป็นหนึ่งในความเสี่ยงที่สามารถเกิดขึ้นได้บ่อยในกระบวนการปฏิบัติงาน เพื่อจัดการและลดความเสี่ยงเหล่านี้ ช.การช่าง ได้แต่งตั้งคณะกรรมการความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานคณะกรรมการความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน (Occupational Health and Safety and Working Environment Committee (Board Level)) ซึ่งประกอบไปด้วยคณะกรรมการของ ช.การช่าง เพื่อบริหารจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของพนักงานและผู้รับเหมา โดยกำหนดแนวทางที่ชัดเจนสำหรับการป้องกันและดูแลสุขอนามัย รวมถึงความปลอดภัยในสภาพแวดล้อมการทำงาน โดยครอบคลุมการวางแผน การปฏิบัติงาน และการตรวจสอบอย่างละเอียด รวมถึงการจัดทำมาตรการความปลอดภัยที่เหมาะสมกับลักษณะงาน

แนวทางป้องกันและลดความเสี่ยง

นอกจากนี้ ยังเน้นการพัฒนาแผนด้านความปลอดภัยอย่างต่อเนื่อง โดยยกระดับมาตรฐานและเสริมสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยในบริษัท บริษัทยังเน้นการตรวจสอบและการวิเคราะห์กระบวนการทำงานอย่างละเอียดและสม่ำเสมอ มีการจัดทำบันทึกสถิติเพื่อเปรียบเทียบเป้าหมาย การจัดทำทะเบียนความเสี่ยงระดับองค์กร การจัดทำแผนผังกรณีฉุกเฉินประจำหน่วยงานโครงการก่อสร้าง แผนการปฏิบัติตัวเพื่อเฝ้าระวังและป้องกันโรคระบาดระหว่างเข้าทำงาน รวมถึงการฝึกซ้อมการรับมือความเสี่ยงรูปแบบต่าง ๆ เช่น การฝึกซ้อมขั้นตอนการลำเลียงผู้ประสพอุบัติเหตุจากสถานที่ก่อสร้าง และการฝึกซ้อมดับเพลิงและอพยพหนีไฟ ทั้งนี้เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมและปรับปรุงให้สอดคล้องกับมาตรฐานที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพและสร้างความมั่นใจในสภาพแวดล้อมการทำงานที่ปลอดภัย


มาตรการป้องกันการเกิดเหตุซ้ำ

เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ซ้ำในอนาคต บริษัทได้ดำเนินการดังนี้


การสร้างวัฒนธรรมอาชีวอนามัยและความปลอดภัยภายในองค์กร

ช.การช่าง มุ่งมั่นเสริมสร้างวัฒนธรรมอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในองค์กรอย่างต่อเนื่อง โดยส่งเสริมความปลอดภัยผ่านการรณรงค์และกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การจัดอบรมให้ความรู้ การจำลองสถานการณ์ฉุกเฉิน การเผยแพร่มาตรการป้องกันอันตราย และการสนับสนุนให้พนักงานมีส่วนร่วมในการพัฒนากระบวนการด้านความปลอดภัย บริษัทยังเน้นการปลูกฝังจิตสำนึกด้านความปลอดภัยให้แก่พนักงานทุกระดับรวมถึงคู่ค้าและผู้รับเหมา โดยส่งเสริมให้ทุกคนตระหนักถึงความสำคัญของความปลอดภัยทั้งในด้านส่วนบุคคลและส่วนรวม

วัฒนธรรมความปลอดภัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ในการสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่ปราศจากอันตราย พนักงานรู้เท่าทันเหตุการณ์ สามารถหลีกเลี่ยงจากสถานการณ์เสี่ยง และช่วยให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน ผ่านการสื่อสารด้านความปลอดภัยระหว่างตัวแทนพนักงานกับบริษัท บริษัทติดตามและประเมินผลมาตรการความปลอดภัยอย่างสม่ำเสมอ พร้อมปรับปรุงให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต เพื่อสร้างองค์กรที่ใส่ใจสุขภาพและความปลอดภัยในระยะยาว

ผลการดำเนินงานและผลลัพธ์

จากการดำเนินการของบริษัท พบว่าในปีที่ผ่านมาไม่มีอุบัติเหตุในกระบวนการผลิต อัตราการบาดเจ็บจากการทำงานจนถึงขั้นหยุดงาน (LTIFR) ของพนักงาน และผู้รับเหมา เท่ากับ 0 รายต่อ 1 ล้านชั่วโมงการทำงาน ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ในการดำเนินงานปี 2567 มีผู้รับเหมาเสียประสบอุบัติเหตุถึงแก่ชีวิต 1 คน ทั้งนี้ ในทุกกรณีของการบาดเจ็บหรือเสียชีวิต ช.การช่าง จะมีการดำเนินการตรวจสอบสาเหตุ และดำเนินการเยียวยาให้แก่ผู้ได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม ตามความเหมาะสม และมีกระบวนการเพื่อป้องกันการเกิดเหตุซ้ำ

วัฒนธรรมความปลอดภัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ในการสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่ปราศจากอันตราย พนักงานรู้เท่าทันเหตุการณ์ สามารถหลีกเลี่ยงจากสถานการณ์เสี่ยง และช่วยให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน บริษัทติดตามและประเมินผลมาตรการความปลอดภัยอย่างสม่ำเสมอ พร้อมปรับปรุงให้สอดคล้องกับ ความเปลี่ยนแปลงในอนาคต เพื่อสร้างองค์กรที่ใส่ใจสุขภาพและความปลอดภัยในระยะยาว

ไม่มีเหตุการณ์อุบัติเหตุในกระบวนการผลิต หรือ อุบัติเหตุในกระบวนการผลิตจนถึงขั้นหยุดงาน (LTIFR) (ค่ากลาง LTIFR ของกลุ่มอุตสาหกรรมที่ 0.86*)

อุบัติเหตุถึงขั้นเสียชีวิตของพนักงาน 0 คน และผู้รับเหมา 1 คน

  • จำนวนเฉลี่ยชั่วโมงทำงานทั้งหมด ในปี 2567 คือ 13,185,416 ชั่วโมง
  • พนักงาน 2,649,780 ชั่วโมง
  • ผู้รับเหมา 10,535,636 ชั่วโมง
* เทียบค่าเฉลี่ย LTIFR จากการเปิดเผยข้อมูลผลการดำเนินงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของบริษัท SYNTEC, DL Construction, Hyundai Engineering & Construction และ HOCHTIEF ช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2566 และ 2567