ช.การช่าง พิจารณาและวิเคราะห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจ ซึ่งแสดงถึงความสัมพันธ์ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่สำคัญในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ

ช.การช่าง มุ่งมั่นในการสร้างคุณค่าในการให้บริการและสินค้าเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในทุกภาคส่วน ห่วงโซ่คุณค่าของบริษัท ประกอบด้วย 5 กิจกรรมหลัก ได้แก่ การคัดสรรคู่ค้าและจัดหาวัสดุก่อสร้าง การออกแบบทางวิศวกรรมและการก่อสร้าง การดำเนินการก่อสร้าง การส่งมอบโครงการ และการจัดการหลังการก่อสร้างแล้วเสร็จ

กิจกรรมหลัก การคัดสรรคู่ค้าและจัดหาวัสดุก่อสร้าง การออกแบบทางวิศวกรรมและการก่อสร้าง การดำเนินการก่อสร้างโครงการ การส่งมอบโครงการก่อสร้าง การจัดการหลังการก่อสร้างแล้วเสร็จ
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
  • คู่ค้า/ผู้รับเหมาช่วง
  • คู่ค้า
  • พนักงาน
  • ภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  • คู่แข่ง
  • ลูกค้า
  • ชุมชนและประชาชน
  • พนักงาน
  • ภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  • ลูกค้า
  • ชุมชนและประชาชน
  • พนักงาน
  • ภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  • ผู้ถือหุ้น นักลงทุน และนักวิเคราะห์
คำอธิบาย
  • ช.การช่าง มีกระบวนการคัดสรรคู่ค้าอย่างโปร่งใสและดำเนินการสั่งซื้อวัสดุก่อสร้างหรือเครื่องจักรตามมาตรฐานและปริมาณที่เหมาะสมกับโครงการก่อสร้าง
  • ช.การช่างดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้และวางแผนการดำเนินงานก่อสร้าง
  • การออกแบบวิศวกรรม
  • การก่อสร้าง
  • การควบคุมและตรวจสอบการก่อสร้างให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด
  • ไม่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา
  • ดำเนินการก่อสร้างโครงการที่ได้รับมอบหมาย เช่น โครงการก่อสร้างระบบขนส่งมวลชน ท่าอากาศยาน พลังงาน น้ำประปา เป็นต้น
  • ส่งมอบโครงการก่อสร้างที่มีคุณภาพและตอบโจทย์ต่อความต้องการของลูกค้าโดยเป็นไปตามข้อกำหนดและเงื่อนไข
  • ดำเนินการจัดการขยะและของเสียที่เกิดขึ้นจากการก่อสร้างและส่งมอบให้แก่บริษัทรับกำจัดหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  • สื่อสารความสำเร็จของงานและจัดสรรผลประโยชน์แก่ผู้ถือหุ้นอย่างเป็นธรรมเท่าเทียม และโปร่งใส
กิจกรรมสนับสนุน การบริหารโครงสร้างพื้นฐานองค์กร
การบริหารทรัพยากรบุคคล
การจัดซื้อจัดจ้าง
การประยุกต์ใช้เทคโนโลย
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจ

การวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจ

ช.การช่าง ให้ความสำคัญในการรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่มอย่างเป็นธรรมและเท่าเทียมกัน ด้วยเหตุผลดังกล่าว ช.การช่าง จึงดำเนินการวิเคราะห์เพื่อระบุผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในห่วงโซ่คุณค่าผ่านกระบวนการประเมินองค์กรในประเด็นต่าง ๆ เช่น การมีและใช้สิทธิตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง หรือข้อตกลงที่ทำร่วมกัน หรือการคุ้มครองตามสิทธิขั้นพื้นฐาน เป็นต้น

โดยตระหนักว่าความสัมพันธ์และความร่วมมือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจะเป็นปัจจัยส่งเสริมให้บริษัทเติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืน ซึ่งผลการวิเคราะห์พบว่า ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลักของบริษัทประกอบด้วย 8 กลุ่ม ได้แก่

1) ผู้ถือหุ้น นักลงทุน และนักวิเคราะห์

2) พนักงาน

3) ลูกค้า

4) คู่ค้า

5) สื่อมวลชน

6) ชุมชนและประชาชน

7) หน่วยงานภาครัฐ และ

8) คู่แข่ง

โดยที่ 3 ลำดับแรก ที่มีความสำคัญและจะต้องมีกิจกรรม หรือมีการมีส่วนร่วมกับบริษัทในปี 2567 ได้แก่ 1) หน่วยงานภาครัฐ 2) ลูกค้า 3) คู่ค้า

การวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจ

ความเกี่ยวข้องของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจกับประเด็นความยั่งยืนขององค์กร

ช.การช่าง ตระหนักถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่มตลอดห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจ เนื่องจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียแต่ละกลุ่มมีบทบาทสำคัญต่อความสำเร็จและความยั่งยืนในการดำเนินธุรกิจ

บริษัทจึงได้วิเคราะห์และจัดลำดับความสำคัญของประเด็นความยั่งยืนที่เกี่ยวข้องกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียแต่ละกลุ่ม เพื่อนำไปสู่การกำหนดกลยุทธ์และแนวทางการบริหารจัดการที่เหมาะสม ทำให้บริษัทสามารถบริหารจัดการความเสี่ยงและโอกาสในการดำเนินธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งสร้างคุณค่าร่วมกันระหว่างองค์กรและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่มอย่างยั่งยืน

ประเด็นสาระสำคัญประจำปี 25567 ผู้มีส่วนได้เสีย
ผู้ถือหุ้น นักลงทุนและนักวิเคราะห์ พนักงาน ลูกค้า คู่ค้า/ผู้รับเหมา สื่อมวลชน ชุมชนและประชาชน หน่วยงานภาครัฐ คู่แข่ง
ประเด็นที่มีความสำคัญสูง (Significant Material Topics)
การบริหารจัดการพลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
การกำกับดูแลกิจการที่ดี
อาชีวอนามัยและความปลอดภัย
การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม
การบริหารและดูแลบุคลากร
ความปลอดภัยและคุณภาพของผลิตภัณฑ์
การมีส่วนร่วมของชุมชนและชุมชน
ประเด็นที่มีความสำคัญ (Material Topics)
การจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน
การเคารพสิทธิมนุษยชน
การบริหารจัดการความเสี่ยง
ความหลากหลายทางชีวภาพ
การบริหารจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้า

ทั้งนี้ ช.การช่าง ได้สรุปความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัท และการตอบสนองความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียแต่ละกลุ่ม พร้อมทั้งสรุปช่องทางการมีส่วนร่วมและแนวปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของบริษัท ประจำปี 2567 โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

การมีส่วนร่วมและแนวปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของ ช.การช่าง

ผู้มีส่วนได้ส่วนส่วนเสีย

  • เจ้าของโครงการภาครัฐ
  • เจ้าของโครงการภาคเอกชน
  • บริษัทในกลุ่ม ช.การช่าง

ความคาดหวังและข้อกังวลของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

  • มีการดูแลและบริหารเรื่องความปลอดภัยและอาชีวอนามัยในการดำเนินงาน และมีมาตรการควบคุมผลกระทบที่อาจจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
  • มีบุคลากรที่มีประสิทธิภาพและทรัพยากรพอเพียงในการปฏิบัติงาน
  • มีเครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพพอเพียงแก่การปฏิบัติงาน
  • มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อส่งมอบงานที่มีคุณภาพได้ในระยะเวลาที่กำหนด

แนวการปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

  • บริหารงานด้านวิศวกรรมโดยยึดหลักการบริหารต้นทุนที่มีประสิทธิภาพ ส่งมอบงานที่มีคุณภาพตามมาตรฐานและตรงตามกำหนดเวลา
  • สร้างแผนการดูแลและบริหารความปลอดภัยและอาชีวอนามัยที่เข้มงวดและประสิทธิภาพ และมีการตรวจสอบและประเมินความเสี่ยงในการดำเนินงานอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงส่งเสริมการฝึกอบรมเพื่อเพิ่มความตระหนักในเรื่องความปลอดภัยและอาชีวอนามัยของพนักงานและคู่ค้า
  • ให้การฝึกอบรมและพัฒนาทักษะของพนักงาน และดำเนินการประเมินผลการทำงานเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพ รวมถึงต้องปฏิบัติตามแบบและข้อกำหนดของการประกวดราคาและสัญญา
  • ใช้เครื่องมือเครื่องจักร และอุปกรณ์ที่มีความปลอดภัย และมีประสิทธิภาพ
  • มีทีมงานที่มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ในการดำเนินงานก่อสร้าง
  • สร้างระบบการบริหารจัดการโครงการที่เป็นระบบและทำให้ข้อมูลทันสมัย และรักษารายละเอียดเทคนิคและราคาก่อสร้างที่ถูกต้องและครบถ้วน
  • ปรับปรุงกระบวนการทำงานเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและวิธีการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และประเมินและรายงานผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างสม่ำเสมอ

ช่องทางการมีส่วนร่วม

  • รายงานเอกสารและหลักฐานต่าง ๆ ตามข้อกำหนด
  • การประชุมร่วมกับเจ้าของโครงการ
  • การจัดกิจกรรมฝึกอบรม จิตอาสา หรือกิจกรรมอื่น ๆ ร่วมกัน
  • โทรศัพท์
  • เว็บไซต์
  • อีเมล
  • จดหมาย

ผู้มีส่วนได้ส่วนส่วนเสีย

  • ผู้ถือหุ้น นักลงทุน และนักวิเคราะห์

ความคาดหวังและข้อกังวลของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

  • การปฏิบัติตามกฎหมายอย่างถูกต้อง โปร่งใส ตรวจสอบได้ และมีการกำกับดูแลกิจการที่ดี
  • การปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้น นักลงทุน และ นักวิเคราะห์ทุกรายอย่างเท่าเทียมกัน
  • บริษัทมีผลประกอบการและฐานะทางการเงินที่ดี มีความมั่นคงและดำเนินการได้ตามเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้ รวมทั้งจัดสรรสิทธิประโยชน์ที่พึงได้ตามกฎหมาย เช่น การจ่ายเงินปันผลอย่างเป็นธรรม ข้อมูลที่ได้รับมีความถูกต้องและครบถ้วน

แนวการปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

  • ปฏิบัติตามกฎหมาย กฎเกณฑ์และวิธีบังคับต่าง ๆ เพื่อให้การปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้น นักลงทุน และนักวิเคราะห์ เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในการกำกับดูแลกิจการที่ดี
  • ให้ข้อมูลอย่างเท่าเทียม มีความถูกต้อง ครบถ้วน ชัดเจน มีประสิทธิภาพ และทันต่อเหตุการณ์
  • มีแนวทางหรือนโยบายในการจัดสรรผลประโยชน์อย่างชัดเจนและโปร่งใส

ช่องทางการมีส่วนร่วม

  • การประชุมสามัญผู้ถือหุ้น (Annual General Meeting : AGM)
  • การประชุมนักวิเคราะห์ (Analyst Meeting)
  • กิจกรรม Roadshow, Conference Meeting Company Visit
  • การเข้าร่วมกิจกรรมที่จัดขึ้นโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET)
  • แบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี/รายงานประจำปี (56-1 One Report)
  • รายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SD Report)
  • เอกสารสรุปผลการดำเนินงาน (Company Presentation)
  • โทรศัพท์
  • Conference Call
  • Video Conference
  • หนังสือพิมพ์และสื่อประชาสัมพันธ์
  • เว็บไซต์: www.ch-karnchang.co.th
  • อีเมล : ck-ir@ckplc.com

ผู้มีส่วนได้ส่วนส่วนเสีย

  • พนักงาน

ความคาดหวังและข้อกังวลของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

  • ได้รับการดูแลและบริหารเรื่องความปลอดภัยและอาชีวอนามัยในการดำเนินงาน
  • ได้รับผลตอบแทนและสวัสดิการอย่างเหมาะสม
  • พนักงานมีสิทธิความเท่าเทียมกัน
  • ได้รับความก้าวหน้าในการประกอบวิชาชีพ มีความมั่นคงและมีความปลอดภัยในการทำงาน ได้รับการพัฒนาความสามารถ โดยการเพิ่มความรู้และทักษะ อย่างเหมาะสม

แนวการปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

  • ดำเนินการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยอย่างมีประสิทธิภาพ
  • ให้ผลตอบแทนที่เหมาะสมและเป็นธรรม
  • ปฏิบัติตามกฎหมายแรงงานโดยคำนึงถึงหลักสิทธิมนุษยชนและความต้องการของพนักงาน จัดให้มีช่องทางร้องเรียนสำหรับพนักงานในกรณีที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม
  • ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาศักยภาพในการทำงาน มีแผนการประเมินผลงานและตั้งเป้าหมายความก้าวหน้าของพนักงงานอย่างมีส่วนร่วม

ช่องทางการมีส่วนร่วม

  • การประชุมผู้บริหารพบพนักงาน
  • กิจกรรมการอบรมสัมมนา
  • อีเมล
  • หนังสือเวียน
  • ป้ายประกาศ
  • การชี้แจงผ่านหัวหน้างาน
  • การแจ้ง ผ่าน Microsoft Team
  • การจัดกิจกรรมเสนอความคิดเห็นในเรื่องต่าง ๆ เช่น ความปลอดภัย ความยั่งยืน สันทนาการร่วมกัน

ผู้มีส่วนได้ส่วนส่วนเสีย

  • คู่ค้า

ความคาดหวังและข้อกังวลของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

  • ชำระค่าสินค้าและค่าจ้างครบถ้วนตรงตามเวลาที่ได้นัดหมายไว้
  • ใช้สินค้าและบริการของคู่ค้า/ผู้รับเหมาช่วงอย่างต่อเนื่อง

แนวการปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

  • ปฏิบัติต่อคู่ค้าทุกรายด้วยความเป็นธรรมเท่าเทียมกัน มีมาตรฐานในการประกวดราคาอย่างโปร่งใส มีกระบวนการที่สามารถตรวจสอบได้
  • สื่อสารการประเมินผลการใช้สินค้าและบริการของคู่ค้าอย่างเหมาะสม ส่งเสริมและสนับสนุนคู่ค้าให้คำนึงถึงเรื่องความยั่งยืน

ช่องทางการมีส่วนร่วม

  • รายงานเอกสารการสั่งซื้อ/สั่งจ้างสัญญา
  • การจัดประชุมกับผู้รับเหมาและร้านค้า
  • การจัดกิจกรรมฝึกอบรม จิตอาสา หรือกิจกรรมอื่นร่วมกัน
  • โทรศัพท์
  • อีเมล

ผู้มีส่วนได้ส่วนส่วนเสีย

  • สื่อมวลชน

ความคาดหวังและข้อกังวลของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

  • ได้รับข้อมูลจากบริษัทอย่างชัดเจนตรงประเด็น และข้อมูลมีความถูกต้อง
  • ได้รับข้อมูลที่เท่าเทียมกันกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มอื่น

แนวการปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

  • สื่อสารข้อมูลที่มีประสิทธิภาพเป็นประโยชน์ รวดเร็ว ถูกต้องและทันต่อเหตุการณ์
  • ปฏิบัติต่อสื่อมวลชนทุกกลุ่มอย่างเท่าเทียมกันกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มอื่น

ช่องทางการมีส่วนร่วม

  • รายงานเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารขององค์กรผ่านข่าวประชาสัมพันธ์บทความและข่าว
  • ให้สัมภาษณ์และพบปะผู้บริหารเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
  • อีเมล
  • โทรศัพท์

ผู้มีส่วนได้ส่วนส่วนเสีย

  • ชุมชนและประชาชน

ความคาดหวังและข้อกังวลของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

  • ไม่ได้รับผลกระทบใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการก่อสร้างทั้งในด้านมลภาวะ เช่น อากาศ ฝุ่นละออง เสียง คุณภาพน้ำผิวดิน รวมทั้งผลกระทบทางด้านคุณภาพชีวิตและการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น ไม่ให้เกิดอุบัติเหตุหรือผลกระทบในทางลบอันเกิดจากการใช้เครื่องจักรและการขนส่งอุปกรณ์ขนาดใหญ่
  • หากเกิดผลกระทบใด ๆ จากการก่อสร้างต้องรีบดำเนินการแก้ไขให้เป็นปกติโดยเร็วที่สุด

แนวการปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

  • ดำเนินงานก่อสร้างอย่างมีประสิทธิภาพ มีมาตรการตรวจสอบเครื่องมือและเครื่องจักร รวมทั้ง ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อประชาชน มีการพบปะพูดคุยกับประชาชนในชุมชน เพื่อติดตามสอบถามถึงผลกระทบที่ได้รับจากการดำเนินการก่อสร้าง
  • ดำเนินการแก้ไขปัญหาอย่างรวดเร็ว สอบถามความต้องการของประชาชนในชุมชน ร่วมกำหนดข้อปฏิบัติร่วมกันและร่วมสนับสนุนการทำกิจกรรมป้องกันและทำความเข้าใจกับชุมชน และร่วมพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในชุมชน เช่น จัดกิจกรรมชุมชนสัมพันธ์เพื่อพัฒนาทักษะของประชาชนในชุมชน

ช่องทางการมีส่วนร่วม

  • จัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม
  • กิจกรรมชุมชนสัมพันธ์
  • ติดต่อร้องเรียน ณ สำนักงานโครงการก่อสร้าง
  • Facebook ของโครงการก่อสร้าง
  • โทรศัพท์
  • เว็บไซต์ของสำนักงานโครงการ
  • การจัดประชุมผ่านหัวหน้างาน
  • ป้ายประชาสัมพันธ์
  • การจัดกิจกรรมฝึกอบรม จิตอาสา หรือกิจกรรมอื่น ๆ ร่วมกัน

ผู้มีส่วนได้ส่วนส่วนเสีย

  • ภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ความคาดหวังและข้อกังวลของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

  • การปฏิบัติตามกฎหมายอย่างถูกต้อง
  • ดำเนินการตามขั้นตอนและระยะเวลาที่เหมาะสม

แนวการปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

  • ปฏิบัติตามกฎหมาย กฎเกณฑ์และวิธีบังคับต่าง ๆ เพื่อให้ มีความถูกต้อง ครบถ้วน ชัดเจน มีประสิทธิภาพ และเป็นไปตามระเบียบขั้นตอน
  • วางแผนการดำเนินการล่วงหน้าอย่างเหมาะสม

ช่องทางการมีส่วนร่วม

  • ประชุมกับหน่วยงานของรัฐ
  • อีเมล
  • โทรศัพท์

ผู้มีส่วนได้ส่วนส่วนเสีย

  • คู่แข่ง

ความคาดหวังและข้อกังวลของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

  • ปฏิบัติต่อคู่แข่งอย่างถูกต้องและมีจริยธรรมทางกฎหมาย ไม่ทำลายชื่อเสียงของบริษัทอื่นด้วยการกล่าวหาในทางร้าย เข้าถึงข้อมูลหรือความลับของบริษัทที่อยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกันด้วยวิธีการไม่สุจริตและไม่ชอบธรรมด้วยกฎหมาย หรือมีนโยบายกีดกันทางการค้า

แนวการปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

  • ดำเนินธุรกิจตามกรอบแห่งกฎหมาย มีจริยธรรม มีความโปร่งใสและตรวจสอบได้ รวมถึงไม่ละเมิดทรัพย์สินและลิขสิทธิ์ทางปัญญา

ช่องทางการมีส่วนร่วม

  • การประชุมผ่านสมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยในพระบรมราชูปถัมภ์และหน่วยงานอื่นที่มีความเกี่ยวข้อง