ความมุ่งมั่น ความท้าทาย และโอกาส

ช.การช่าง ในฐานะผู้นำด้านงานก่อสร้าง ตระหนักถึงผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้นต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วน จึงได้กำหนดแผนกลยุทธ์และเป้าหมายในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบ

ช.การช่าง ตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมและผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งส่งผลต่อระบบนิเวศ เศรษฐกิจ และคุณภาพชีวิตของสังคมโดยรวม รวมถึงผลกระทบจากการดำเนินธุรกิจของบริษัทเอง เช่น การใช้ทรัพยากรธรรมชาติ การปล่อยก๊าซเรือนกระจก และของเสียจากกระบวนการก่อสร้าง ซึ่งส่งผลต่อระบบนิเวศ เศรษฐกิจ และคุณภาพชีวิตของสังคมในภาพรวม โดยการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนำมาซึ่งความท้าทาย อาทิ การเพิ่มขึ้นของภัยพิบัติทางธรรมชาติ ความผันผวนของทรัพยากรธรรมชาติ และความไม่แน่นอนในโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งยังสร้างความเสี่ยงต่อธุรกิจ เช่น กฎระเบียบสิ่งแวดล้อมที่เข้มงวดมากขึ้น ต้นทุนการดำเนินงานที่เพิ่มขึ้น และแรงกดดันจากผู้บริโภคและนักลงทุนที่คาดหวังให้ธุรกิจดำเนินการอย่างยั่งยืน เป็นต้น อย่างไรก็ตาม การจัดการสิ่งแวดล้อม และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศยังนำมาซึ่งโอกาสสำคัญที่ช่วยเสริมสร้างความสามารถทางการแข่งขันของธุรกิจในระยะยาว อาทิ การพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีสีเขียวเพื่อลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานการเข้าถึงแหล่งเงินทุนสีเขียวและโครงการสนับสนุนจากภาครัฐ การขยายตลาดไปยังกลุ่มลูกค้าที่ให้ความสำคัญกับผลิตภัณฑ์และบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีและเพิ่มความเชื่อมั่นในกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

เพื่อตอบสนองต่อความท้าทายเหล่านี้ ช.การช่าง มุ่งมั่นพัฒนานโยบายการจัดการสิ่งแวดล้อม การก่อสร้างสีเขียว สภาพภูมิอากาศ และความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน พร้อมสร้างความเชื่อมั่นในกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยเน้นการก่อสร้างที่สีเขียวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การใช้วัสดุคุณภาพสูงที่ลดผลกระทบต่อธรรมชาติการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมและการบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นต้น โดยการจัดการพลังงานน้ำ และทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ การลดการปล่อยมลพิษ การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ และการสนับสนุนนวัตกรรมสีเขียวครอบคลุมตลอดทุกการดำเนินงานการผลิต การอำนวยความสะดวกทางธุรกิจ การดำเนินงานของหุ้นส่วนธุรกิจตลอดทั้งห่วงโซ่คุณค่า ตามนโยบายการจัดการสิ่งแวดล้อม การก่อสร้างสีเขียว สภาพภูมิอากาศ และความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน และจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจและแนวปฏิบัติที่ดี ฉบับปี 2566 ของบริษัท โดยในปี 2567 ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงของนโยบายดังกล่าว

การสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

เป้าหมายที่ 7:
พลังงานสะอาดที่เข้าถึงได้
เป้าหมายที่ 8:
งานที่มีคุณค่าและการเติบโตทางเศรษฐกิจ
เป้าหมายที่ 12:
การผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน
เป้าหมายที่ 13:
การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
เป้าหมายที่ 15:
ระบบนิเวศบนบก

ผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง

ผู้ถือหุ้น นักลงทุน และนักวิเคราะห์
กลยุทธ์ด้านสภาพภูมิอากาศช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นทางธุรกิจ สร้างโอกาสการลงทุนที่ยั่งยืน และเพิ่มผลประกอบการในระยะยาว
คู่ค้าและผู้รับเหมา
การดำเนินงานตามกรอบการบริหารจัดการพลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ร่วมกับคู่ค้าและผู้รับเหมา การคัดเลือกคู่ค้าและผู้รับเหมา ที่มีจุดยืนในด้านการลดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเดียวกัน
ภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
การดำเนินงานและความร่วมมือด้านพลังงาน รวมถึงเป้าหมายสภาพภูมิอากาศ ช่วยปฏิบัติตามกฎระเบียบและส่งเสริมความยั่งยืนของประเทศ
ชุมชนและประชาชน
การลดมลพิษและการใช้พลังงานหมุนเวียนช่วยยกระดับคุณภาพชีวิต ส่งเสริมสุขภาพของประชาชน และลดความเสี่ยงจากสภาพภูมิอากาศ ที่เปลี่ยนแปลง

เป้าหมายและผลการดำเนินงาน

เป้าหมาย
1. การบริหารจัดการพลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
  • การจัดการพลังงาน
  • การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
2. การจัดการสิ่งแวดล้อม
  • การจัดการน้ำ
  • การจัดการขยะและของเสีย คุณภาพวัสดุก่อสร้าง ความหลากหลายทางชีวภาพ
  • การจัดการคุณภาพอากาศ
3. การสร้างความตระหนักรู้ด้านสิ่งแวดล้อม
ผลการดำเนินงาน
สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงได้
%
เมื่อเทียบกับปีก่อน
นำระบบการจัดการน้ำหมุนเวียนมาใช้ในโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่
โครงการ
เพิ่มการใช้วัสดุรีไซเคิลในโครงการก่อสร้างได้
%

แนวทางการจัดการและแนวปฏิบัติ

การจัดการทรัพยากรน้ำ

ช.การช่าง มุ่งมั่นที่จะเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานเพื่อลดผลกระทบด้านน้ำ โดยบริษัทได้ดำเนินมาตรการควบคุมทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ

โดยการลดการใช้น้ำและจัดให้มีระบบหมุนเวียนน้ำภายในโครงการ โดยให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับโครงการที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีความตึงเครียดด้านน้ำ การบริหารจัดการน้ำนี้ยังเชื่อมโยงกับการควบคุมคุณภาพอากาศ โดยนำน้ำจากระบบหมุนเวียนมาใช้ในการฉีดพรมเพื่อลดฝุ่นในพื้นที่ก่อสร้าง

การจัดการคุณภาพอากาศ

ช.การช่าง มุ่งมั่นที่จะเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานเพื่อลดผลกระทบด้านคุณภาพอากาศ ถึงแม้ว่ามลพิษทางเสียงเป็นผลกระทบที่หลีกเลี่ยงได้ยากในงานก่อสร้าง ระดับเสียงที่เกินจากมาตรฐานกำหนด อาจส่งผลร้ายแรงต่อการดำเนินชีวิตของประชาชนบริเวณโดยรอบพื้นที่โครงการก่อสร้าง

ด้วยเหตุนี้ ช.การช่าง จึงได้กำหนดมาตรการควบคุมและลดผลกระทบดังกล่าว เพื่อให้การดำเนินงานของ ช.การช่างเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ตามประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 15 (พ.ศ. 2540) โดยกำหนดมาตรฐานระดับเสียงโดยทั่วไป กล่าวคือ ค่าระดับเสียงสูงสุดไม่เกิน 115 เดซิเบลเอ (dBA) และค่าระดับเสียงเฉลี่ย 24 ชั่วโมง ไม่เกิน 70 เดซิเบลเอ (dBA) โดยในปี 2567 ช.การช่าง ได้มีการติดตามและตรวจสอบระดับเสียงในการก่อสร้างของโครงการต่าง ๆ ของ ช.การช่าง พบว่าอยู่ในเกณฑ์ค่าดัชนีมาตรฐานดังกล่าวข้างต้นและไม่พบข้อร้องเรียนที่เกี่ยวข้องกับระดับของเสียงที่เกินจากมาตรฐานกำหนด นอกจากนี้ ช.การช่าง ยังได้กำหนดมาตรการเพื่อช่วยลดผลกระทบด้านเสียง ดังนี้

มาตรการเพื่อช่วยลดผลกระทบด้านเสียง
  1. ดำเนินกิจกรรมก่อสร้างที่ก่อให้เกิดเสียงดังในช่วงเวลา 06.00 - 22.00 น. และหากเกินจากเวลาที่กำหนดจะมีการประชาสัมพันธ์ให้ชุมชนใกล้เคียงทราบ
  2. กำหนดมาตรการป้องกันผลกระทบด้านเสียง เช่น การติดตั้งกำแพงกันเสียงชั่วคราวรอบบริเวณพื้นที่ก่อสร้าง
  3. บริเวณที่ทำการเปิดหน้าดิน รื้อถอน ทำลายสิ่งปลูกสร้างอุปกรณ์ขุดเจาะ ผสมคอนกรีต ต้องทำรั้วทึบรอบสถานที่ก่อสร้าง (ความสูงไม่น้อยกว่า 2.0 เมตร)
  4. ติดตั้งเครื่องตรวจวัดระดับเสียงภายในพื้นที่ก่อสร้าง

การจัดการขยะและของเสีย วัสดุก่อสร้าง และความหลากหลายทางชีวภาพ

การจัดการของเสียเป็นอีกประเด็นสำคัญที่บริษัทให้ความสำคัญ โดยมุ่งเน้นการจัดการตั้งแต่ต้นทาง ผ่านการวางแผนการใช้วัสดุอย่างมีประสิทธิภาพ การคำนวณปริมาณวัสดุก่อสร้างให้เหมาะสม และการนำวัสดุกลับมาใช้ซ้ำเมื่อสามารถทำได้โดยไม่กระทบต่อความปลอดภัยของการใช้วัสดุก่อสร้างดังกล่าว

รวมถึง การออกแบบหรือก่อสร้างอาคารสีเขียว การใช้หรือผลิตวัสดุประหยัดพลังงานหรือลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและมีผลการประเมิน Life Cycle Assessment และการหลีกเลี่ยงวัสดุก่อสร้างและที่อาจมีการปล่อยก๊าซระเหยหรือสารอันตราย แร่ใยหินและแร่ใยหิน นอกจากนี้ บริษัทยังให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ โดยร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกในระหว่างการดำเนินโครงการอนุรักษ์ โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีความเสี่ยง เช่น การดูแลรักษาพันธุ์สัตว์น้ำในโครงการก่อสร้างที่ใกล้กับแหล่งน้ำสำคัญอย่างแม่น้ำโขง เป็นต้น

การจัดการจัดการพลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ช.การช่าง ประเมินความเสี่ยงที่มาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และผลกระทบที่สามารถเกิดขึ้นได้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากการดำเนินธุรกิจของ ช.การช่าง (Climate Risk Assessment) รวมไปถึงการจัดการการใช้พลังงานในการดำเนินโครงการ และสถานที่ปฏิบัติงานอย่างสำนักงานใหญ่

เริ่มต้นด้วยการปลูกฝังค่านิยมในกลุ่มพนักงานและผู้เกี่ยวข้องในด้านการรักษาสิ่งแวดล้อม ลดการใช้พลังงาน และเสริมสร้างความตระหนักรู้ให้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งภายในและภายนอกบริษัท ในประเด็นที่เกี่ยวข้องการการรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สำหรับการดำเนินงานนั้น นอกจากนี้ ช.การช่าง ยังมุ่งสู่เป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี พ.ศ. 2608 สอดคล้องกับเป้าหมายตามความตกลงปารีส ผ่านการใช้พลังงานหมุนเวียน การปรับปรุงกระบวนการดำเนินงานเพื่อลดต้นทุน และการปฏิบัติตามกฎหมายและมาตรฐานสิ่งแวดล้อมอย่างเคร่งครัด รวมถึงส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อมทั้งกับพนักงาน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง

ช.การช่าง ได้ดำเนินการติดตั้งระบบพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Cell) เพื่อเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานสะอาด และมีการวางแผนที่จะขยายพื้นที่ในการใช้งานระบบพลังงานแสงอาทิตย์ต่อไป ทั้งนี้ ในการวางกลยุทธ์การจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศนั้น ช.การช่าง ได้ดำเนินการคำนวณปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กร ที่มีความครอบคลุมทั้ง 3 ขอบเขต ได้แก่ ขอบเขตที่ 1 การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางตรงจากการดำเนินธุรกิจ ขอบเขตที่ 2 การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมจากการใช้พลังงาน และ ขอบเขตที่ 3 การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมจากกิจกรรมอื่น ๆ ทั้งนี้เพื่อการนำข้อมูลมาใช้ในการวางแผนการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของบริษัท และพัฒนาสิ่งแวดล้อมเพื่อส่วนรวม

การสร้างความตระหนักรู้ด้านสิ่งแวดล้อม

ช.การช่าง ยึดมั่นในจรรยาบรรณและแนวปฏิบัติที่ดีในการดำเนินธุรกิจ สนับสนุนการเติบโตขององค์กรควบคู่กับการปกป้องทรัพยากรธรรมชาติและยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชน สร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคมในระยะยาว พร้อมส่งเสริมความตระหนักและพัฒนาศักยภาพด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมให้แก่บุคลากรภายในองค์กรถือเป็นอีกหนึ่งมิติที่ ช.การช่าง ให้ความสำคัญ

โดยมีการจัดกิจกรรม การฝึกอบรม และการสื่อสารให้ความรู้เกี่ยวกับแนวทางการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้พนักงานและผู้รับเหมามีความตระหนักและสามารถมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนการจัดการสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ การดำเนินการด้านสิ่งแวดล้อมทั้งหมดของ ช.การช่าง ผ่านกระบวนการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมอย่างรอบด้าน มีการติดตามและประเมินผลอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำไปสู่การพัฒนาและปรับปรุงการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของบริษัทในการดำเนินธุรกิจควบคู่ไปกับการรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน