โครงการการใช้ฝุ่นหินจากโรงโม่ทดแทนทรายแม่น้ำส่วนหนึ่งในส่วนผสมคอนกรีต

โครงการไฟฟ้าพลังน้ำหลวงพระบาง ดำเนินโครงการการใช้ฝุ่นหินจากโรงโม่ทดแทนทรายแม่น้ำส่วนหนึ่งในส่วนผสมคอนกรีต โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดปริมาณการใช้ทรายแม่น้ำ และเป็นการนำวัสดุเหลือใช้ (ฝุ่นหิน) มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยไม่ต้องนำไปทิ้งจนก่อให้เกิดมลภาวะด้านสิ่งแวดล้อม โดยการออกแบบส่วนผสมคอนกรีตโดยนำหินฝุ่นมาทดแทนทรายแม่น้ำ สามารถใช้ฝุ่นหินทดแทนทราย (Fine Aggregate) ที่เกินจากค่าที่กำหนดในสัญญา ร้อยละ 10 คิดเป็นปริมาณฝุ่นหินที่นำมาใช้ทดแทนทราย 56 กิโลกรัม/ลูกบาศก์เมตร จากผลการดำเนินการ สามารถลดการใช้ทรายแม่น้ำ ประหยัดเงิน 6.85 ล้านบาท และลดปริมาณการทิ้งเศษหินฝุ่นเข้าสู่ระบบนิเวศได้ถึง 28,560 ตัน โดยโครงการนี้ได้มีการเริ่มต้นใช้งานเมื่อมกราคม 2566
ในปี 2567 โครงการไฟฟ้าพลังน้ำหลวงพระบางผลิตคอนกรีต 510,000 ลูกบาศก์เมตร สามารถใช้ฝุ่นหินดังกล่าวทดแทนทราย (Fine Aggregate) ที่เกินจากค่าที่กำหนดในสัญญา ร้อยละ 10 (ข้อกำหนด ระบุไม่เกินร้อยละ 3 โครงการใช้ เฉลี่ยร้อยละ 13) คิดเป็นปริมาณฝุ่นหินที่นำมาใช้ทดแทนทราย 56 กิโลกรัม/ลูกบาศก์เมตร ทำให้สามารถประหยัดทรายธรรมชาติจากแม่น้ำโขงได้มากถึง 28,560 ตัน ซึ่งเป็นการช่วยลดการใช้ทรัพยากรจากธรรมชาติได้อีกทางหนึ่ง