โครงการศูนย์เรียนรู้การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำด้วยชุดเพาะฟักเคลื่อนที่ (Mobile hatchery)

ตามที่บริษัทได้อนุมัติงบประมาณจำนวน 2.4 ล้านบาท แบ่งการสนับสนุนออกเป็น 3 ปี ปีละ 800,000 บาท โดยจับมือร่วมกับสถาบันวิจัยรุกขเวช มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ในการดำเนินงานเพื่อสนับสนุนโครงการ “ศูนย์เรียนรู้การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำด้วยชุดเพาะฟักเคลื่อนที่ (Mobile hatchery)” โดยโครงการศูนย์เรียนรู้การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำด้วยชุดเพาะฟักเคลื่อนที่ (Mobile Hatchery) ตำบลไชยบุรี อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม เกิดขึ้นเพื่อเสริมสร้างศักยภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในชุมชน โดยมุ่งเน้นให้ชุมชนพึ่งพาตนเองและทรัพยากรที่มีอยู่ได้อย่างยั่งยืน ท่ามกลางผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม การเสื่อมสภาพของแหล่งน้ำ และการทำประมงเกินขนาด ซึ่งส่งผลกระทบต่อประชากรสัตว์น้ำในแม่น้ำโขงและแม่น้ำสงคราม โครงการนี้นอกจากจะช่วยรักษาความสมดุลของความหลากหลายทางชีวภาพโดยการฟื้นฟูระบบนิเวศ (Regenerate) และยังเพิ่มโอกาสในการพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น สร้างงานอย่างยั่งยืน
และคาดว่าจะมีประชาชนในพื้นที่ได้รับประโยชน์ รวมถึงส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนได้ 403,775 บาทต่อปี โดยจะมีการพัฒนาศูนย์เรียนรู้การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำด้วยชุดเพาะฟักเคลื่อนที่และการเพาะเลี้ยงอาหารมีชีวิตสำหรับอนุบาลลูกปลาวัยอ่อนในพื้นที่ไชยบุรีเป็นต้นแบบ
ในปี 2567 ดำเนินการเพาะปลาตะเพียนขาวทั้งสิ้น 9 รอบ จากปลาตะเพียนขาวเพศเมีย 16 ตัว ได้จำนวนลูกปลาทั้งหมด 1,075,100 ตัว และดำเนินการปล่อยลูกพันธุ์ปลาบางส่วนลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติในแม่น้ำสงคราม จำนวน 90,000 ตัว

